Canada

ประเทศแคนาดา

  • เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
  • แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
  • แคนาดาเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 10 รัฐ (provinces) และ 3 ดินแดน (territories)
  •  รัฐ

    แอลเบอร์ตา

    บริติชโคลัมเบีย

    แมนิโทบา

    นิวบรันสวิก

    นิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์

    โนวาสโกเชีย

    ออนแทรีโอ

    ปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์

    รัฐนิวไอร์แลนด์บราดอร์บริติชโคลัมเบีย

    ควิเบก

    ซัสแคตเชวัน

    ดินแดน

    นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์

    นูนาวุต

    ยูคอน

    • พื้นที่ 9,976,140 ตารางกิโลเมตร ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
    • แคนาดาเป็นประเทศเดียวในกลุ่มจี 8 ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
    • ประเทศแคนาดาได้รับการยอมรับ จากองค์การสหประชาชาติมาเป็นเวลานานหลายปี ให้เป็นประเทศที่ น่าอยู่ที่สุดของโลกในระดับสูงสุด 5 ประเทศ จากการสำรวจเมื่อปี 2005 อยู่ในอันดับ 4 ของโลก และเป็นประเทศเดียวที่ติดท็อป 5 ของโลกที่พูดภาษาอังกฤษ ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาราชการ 2 ภาษา คือ อังกฤษและฝรั่งเศส แต่ทั่วประเทศจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ยกเว้นในมณฑลควีเบค จะพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ ภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นสำเนียงกลาง ซึ่งเป็นสำเนียงแท้จริงที่ใช้กันในทวีปอเมริกาเหนือ และเหมาะแก่เยาวชนไทยเป็นอย่างมาก ในการศึกษาต่อในประเทศนี้เพราะจะได้สำเนียงภาษาที่แท้จริง
    • ประชากร รวมประชากรทั้งหมดของประเทศแคนาดา ประมาณ 33 ล้านคน หลากหลายด้วยวัฒนธรรม และความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งหรือคนเอเชีย ประชาชนเป็นมิตร ไม่เหยียดสีผิว ความปลอดภัยสุดยอด เนื่องจากมีกฎหมายที่เข้มงวดและประชากรไม่อนุญาตให้พกอาวุธ
    • ภูมิอากาศ มีภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูหนาว และฤดูร้อน (ช่วงฤดูร้อน มิ.ย. – ก.ย. อากาศจะใกล้เคียงกับบ้านเรา)
    • ทิวทัศน์และภูมิประเทศ ของแคนาดานั้นงดงามสุดบรรยาย ประกอบด้วย ที่ราบ, ภูเขา, ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์, ทะเล าบต่างๆ โดยเฉพาะแถบเทือกเขาร๊อคกี้ ในมณฑล อัลเบอร์ต้า ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในโลก
    • เวลา เนื่องจากแคนาดา เป็นประเทศกว้างใหญ่ จึงแบ่งเวลาออกเป็น 6 โซนตามพื้นที่ คือ Pacific Standard Time, Mountain Standard Time, Central Standard Time, Eastern Standard Time, Atlantic Standard Time และ Newfoundland Standard Time โดยแต่ละโซนเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง มีเพียงโซนนิวฟาวด์แลนด์ที่เวลาต่างออกไปครึ่งชั่วโมง และโซนแปซิฟิคต่างกับเวลาที่กรีนิช 8 ชั่วโมง
    • อุตสาหกรรมการผลิตของแคนาดาส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลออนทาริโอ (Ontario) และควิเบค (Quebec)
    • สินค้าส่งออกที่สำคัญ: รถยนต์และส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องจักรกลและเครื่องมือต่างๆ สินค้าไฮ – เทค น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แร่โลหะ และผลิตผลจากป่าไม้และฟาร์ม
    • สินค้านำเข้าที่สำคัญ: เครื่องจักรกลและเครื่องมืออุตสาหกรรม ซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์การสื่อสาร และอิเล็กทรอนิคส์ ส่วนประกอบรถยนต์และยานพาหนะ วัตถุดิบสำหรับงานอุตสาหกรรม (แร่โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า โลหะมีค่า เคมีภัณฑ์ พลาสติก ฝ้าย ขนแกะ และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) เช่นดียวกับงานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์อาหาร
    • สกุลเงินของประเทศแคนาดา คือ ดอลลาร์แคนาดา(CAD) สำหรับธนบัตรมีชนิด 5, 10, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์ โดยหนึ่งดอลลาร์จะมีค่าเท่ากับ 100 เซ็นต์ส่วนเหรียญมี 5, 10 และ25 เซ็นต์โดยมีอัตราเเลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 82 บาทต่อ 1 ดอลลาร์แคนาดา

10 สถานที่เที่ยวที่น่าไปที่สุดในแคนาดา

Cagary

เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐอัลเบอร์ต้า,คาลการีตั้งอยู่ระหว่างแคนาดาเชิงเขาเทือกเขาร็อกกี้ มีการขุดพบน้ำมันในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ทำให้ที่นี่กลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดา เเละเป็นเมืองที่สงบ น่าอยู่อีกเมืองหนึ่ง เเละมีทะเลสาบเลกหลุยส์ เป็นทะเลสาบที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,700 เมตร ผิวน้ำในทะเลสาบนิ่งเป็นสีเขียวมรกต ล้อมรอบไปด้วยป่าสน มีฉากหลังเป็นท้องฟ้าและเทือกเขาสูงชันลดหลั่นกันไป ความงามราวกับภาพวาด

 

OTTAWA

เมืองออตตาวาได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในทวีปอเมริกา และยังเป็นเมืองที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสะอาดเป็นอันดับ 2 ในแคนาดา และเป็นเมืองที่สะอาดเป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย ที่นี่มีอาคารพาเลียเมนท์ ฮิลล์ (Parliament Hill) อาคารรัฐสภาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก ที่ผู้เข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

 

Whistler

ภูเขาที่งดงามที่คุณต้องไปให้ได้ซักครั้งในชีวิต ที่นี่เรียกว่า Whistler Blackcomb เป็นสถานที่เล่นสกี ที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ในเทือกเขาชายฝั่งบริติชโคลัมเบีย, วิสเลอร์ เดินทางสองชั่วโมงจากแวนคูเวอร์ คุณก็จะได้พบกับอีกสถานที่งดงามที่สุดของแคนาดา

 

Vancouver Island

เกาะแวนคูเวอร์ถูกตั้งชื่อตามนักสำรวจชาวอังกฤษ จอร์จแวนคูเวอร์เป็นเกาะที่ใหญ่นอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่ตรงข้ามรัฐวอชิงตัน เคยเป็นสถานที่แข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

 

Quebec City

ควิเบกเป็นเมืองหลวงของรัฐ ควิเบกอยู่ทางด้านตะวันออกของแคนาดาได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมและภาษาจึงทำให้เกิดหมู่บ้านไสตล์ยุโรปที่มีเสน่ห์ตั้งอยู่บนเนินเขาสามารถมองเห็นแม่น้ำเซนต์ลอว์เร สวยงามเเละน่าประทับใจมาก

 

Toronto

เมืองหลวงของ ของรัฐ Ontario,โตรอนโตเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในแคนาดาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เเละมีประชากรหลากหลาย , โตรอนโตยังเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก ที่ท่องเที่ยวสำคัญๆได้แก่ ตึก CN Tower และปราสาทเทพนิยายของ Casa Loma

 

Montreal

เมืองใหญ่อันดับสองในประเทศแคนาดา รองจาก โตรอนโต, มอนทรีออลเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมและทางการเงิน ประชากรใช้ ภาษา อังกฤษเเละฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก สถานที่ท่องเที่ยวหลักของมอนทรีออล ได้แก่ ตึกระฟ้าใจกลางเมืองเช่นโอลิมปิคทาวเวอร์, อาคารประวัติศาสตร์ของมอนทรีออล

 

Banff National Park

ตั้งอยู่ในรัฐ อัลเบอร์ต้า อุทยานแห่งชาติ Banff ไม่ได้เป็นเพียงสวนสาธารณะแห่งชาติแห่งแรกของแคนาดา แต่ยังเป็นหนึ่งในสวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ มีผู้เข้าชมมากที่สุดอีกด้วย

 

Niagara Falls, Ontario

น้ำตกที่ยิ่งใหญ่เเละสวยงามของโลก ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนของประเทศ แคนาดา Ontario และสหรัฐอเมริกานิวยอร์ก เป็นสถานที่น่าสนใจมากที่สุด

 

Vancouver

นครแวนคูเวอร์ (Vancouver) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของแคนาดา อยู่ทางตะวันตกของประเทศเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญ และได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัยในอันดับต้นๆ ของโลก ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาและชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในบริติชโคลัมเบีย, Vancouver  มีทิวทัศน์อันงดงามเเละมีธรรมชาติที่ดีเหมาะ แก่การมาท่องเที่ยวเเละมาเรียนเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายไม่ว่า จะเป็นสแตนลี่ย์พาร์คซึ่งครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ของป่าสวนและพื้นที่สีเขียว

มณฑลของ แคนาดา

มณฑลบริติชโคลัมเบีย (British Columbia)

เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางฝั่งแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นเขตที่มีธรรมชาติที่สวยงาม มีสภาพอากาศที่อบอุ่น พื้นที่เป็นภูเขาน้อยใหญ่ มีเมืองหลวงคือ”เมืองวิคตอเรีย (Victoria)” ซึ่งตั้งอยู่ตอนใต้ของเมืองแวนคูเวอร์ มีประชากรประมาณ 3.3 ล้านคน เมืองที่เป็นที่รู้จักกันเป็น ส่วนใหญ่คือ เมืองแวนคูเวอร์ (Vancouver) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดบนชายฝั่งแปซิฟิค ของทวีปอเมริกเหนือ และเป็นเมืองที่มีชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น อาศัยอยู่มากที่สุด

มณฑลอัลเบอร์ต้า (Alberta)

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ น้ำมันดิบและ ก๊าซธรรมชาติ เป็นแหล่งกำเนิดเทือกเขาร็อกกี้ (Rocky) นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และ ที่ราบเพาะปลูกข้าวสาร มี “เมืองเอดมันตัน (Edmonton)” เป็นเมืองหลวง

มณฑลมานิโตบา (Manitoba) มีพื้นที่ส่วนใหญ ่เป็นทะเลสาบจนได้ชื่อว่า Land of 100,000 lakes เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และยังเป็นแหล่งเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ทองแดง สังกะสี และนิเกิล มี “เมือง วินนิเพก (Winnipig)” เป็นเมืองหลวง

มณฑลซัสคาเซวาน (Saskatchewan)

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 650,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ที่เหลือเป็นทุ่งราบแพรี่และทะเลสาบ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ซัสคาเซวานเป็นมณฑลที่ได้ชื่อว่า “ตะกร้าขนมปัง” มี “เมืองรีไจนา (Regina)” เป็นเมืองหลวง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งมาจาหลายเชื้อชาติ มณฑลซัสคาเซวานยังมีชื่อเสียงทางด้านความงามของพระอาทิตย์ยามอัสดง

มณฑลออนตาริโอ (Ontario)

ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศ เป็นมณฑลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของแคนาดา มีพื้นที่ 1.1 ล้านตารางกิโลเมตร มี “เมืองโตรอนโต (Toronto)” เป็น เมืองหลวง เป็น ศูนย์กลาง ทางการ เงินและอุตสาหกรรม มีทรัพยากรที่สำคัญ คือ นิเกิล ทองแดง และยูเรเนียม ทางตอนใต้ของมณฑลเป็นที่ตั้งของน้ำตกไนแองการ่า รวมทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของหอคอย CN ซึ่งจัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมลอยตัวที่สูงที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศ คือ เมือง ออตตาวา (Ottawa)

มณฑลควิเบค (Quebec)

มณฑลควิเบคมี “เมืองควิเบคซิตี้ (Quebeccity)” เป็นเมืองหลวง ควิเบคเป็นมณฑลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแคนาดาโดยมีพื้นที่ 1,450,680 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศร้อยละ 80 ของประชากร อาศัยอยู่ในเขตชุมชนเมือง ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสาย ฝรั่งเศสและนิยมพูดภาษาฝรั่งเศส

มณฑลนิวฟาวแลนด์ (Newfoundland)

ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของแคนาดา มี “เมืองเซนต์จอห์น (Saint John)” เป็นเมืองหลวง ในปัจจุบันมีประชากร 570,000 คน โดยมีพื้นเพมาจาประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวประมง ซึ่งมักอาศัยอยู่ในบริเวณแหลมอวาลอน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล

มณฑลพรินซ์ เอ็ดเวิร์ด ไอร์แลนด์ (Prince Edward Island)

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เป็นมณฑลที่มีขนาดเล็กที่สุดมีประชากรประมาณ 130,000 คน มี “เมืองชาร์ล็อตทาวน์ (Charlottetown)” เป็นเมืองหลวงซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “แหล่งกำเนิดของการประชุม” พรินซ์ เอ็ดเวิร์ด ไอร์แลนด์ เป็นมณฑลซึ่งดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีอากาศที่บริสุทธิ์ จึงเป็นแหล่งสำคัญในการฟาร์มผสมของแคนาดาจนได้ชื่อว่า “มณฑลแห่งสวนผลไม้”

มณฑลโนวา สโกเทีย (Nova Scotia)

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ เป็นมณฑลที่ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลทั้ง 4 ด้าน มีพื้นที่ 55,491 ตารางกิโลเมตร มี “เมืองฮาลิแฟกซ์ (Halifax)” เป็นเมืองหลวง มีประชากรประมาณ 320,000 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ในเขตชุมชนเมืองหลวง ประชากร แคนาดา ส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากประเทศอังกฤษ

นูนาวูท (Nunavut)

เป็นมณฑลที่เพิ่งแยกตัวมาจากนอร์ธเวสต์ แคนาดา มีภูมิอากาศคล้ายนอร์ธเวสต์ มี “เมืองอิคคาลูอิท (Iqualuit)” เป็นเมืองหลวง มณฑลนูนาวูทมีประชากรประมาณ 25,000 คน โดยประชากรประมาณ 5,000 คนอาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวง การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตได้ดี นูนาวูทมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามโดยเฉพาะ Auyuittuq National Park ซี่งเป็นสถานที่ที่ท่องเที่ยวสำคัญของ นูนาวูท

นอร์ธเวสต์ (Northwest Territory)

เป็นเขตการปกครองพิเศษ มี “เมืองเยลโลไนฟ์ (Yellow Knife)” เป็นเมืองหลวง มีประชากรประมาณ 40,000 คน ประชากร 1 ใน 3 อาศัยอยู่ในบริเวณเขตชุมชนของเมืองเยลโลไนฟ์ นอร์ธเวสต์ยังได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนแห่งพระอาทิตย์ เที่ยงคืน” ซึ่งในฤดูร้อนจะมีแสงอาทิตย์เกือบตลอดเวลา ธุรกิจเหมืองแร่เป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้แก่นอร์ธเวสต์

ยูคอน (Yukon Territory)

เป็นดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน (Midnight Sun) ยูคอนเป็นมณฑลที่ล้อมรอบด้วยอลาสก้า มีพื้นที่ทั้งหมด 483,450 ตารางกิโลเมตร มี “เมืองไวท์ฮอร์ส (Whitrhorse)” เป็นเมืองหลวง มีประชากรประมาณ 28,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง

นิวบันสวิก (New Brunswick)

ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของแคนาดา เป็นมณฑลที่ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลทั้ง 3 ด้าน มีประชากร ประมาณ 723,900 คน ประชากรร้อยละ 35 พูดภาษาฝรั่งเศษ มี “เมืองเฟรเดริคตัน (Fredericton)” เป็นเมืองหลวง เป็นมณฑลที่มีความ หลากหลาย ทางวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นที่ตั้งของอ่าวฟันดี (Bay of Fundy) ซึ่งเป็นอ่าวที่มีคลื่นสูงที่สุดในโลก

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ระดับอนุบาล

เด็กทุกคน เริ่มเข้าเรียนในระดับอนุบาลเมื่อมีอายุ 4 หรือ 5 ขวบ โดยใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1-2 ปี

ระดับประถมศึกษา

เด็กทุกคนจะเริ่มเรียนเกรดหนึ่งเมื่อมีอายุประมาณ 6 ขวบ ซึ่งจะจบการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาที่เกรด 6 ,7 หรือ 8 ขึ้นอยู่กับแต่ละหลักสูตรของแต่ละมณฑล

ระดับมัธยมศึกษา

ในระดับมัธยมศึกษานั้นจะมีถึงเกรด 12 ยกเว้นในมณฑลควิเบค และมณฑลออนตาริโอ ซึ่งอาจจะมีถึงเกรด 13 แต่สำหรับนักเรียน ซึ่งเรียนจบในระดับชั้นเกรด 13 เมื่อเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีก็จะใช้เวลาศึกษาเพียง 3 ปีเท่านั้น สำหรับหลักสูตรของมณฑลอื่นๆ จะใช้เวลาในการเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี นอกจากนี้ในมณฑลควิเบค ยังมีระบบการศึกษาอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ซีเจ็ป (Cegep) ซึ่งเป็นชื่อย่อของวิทยาลัยเพื่อการศึกษาทั่วไป และวิชาชีพ เป็นรูปแบบการศึกษาซึ่งอยู่ระหว่างระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระดับนี้จะรับผู้เรียนจบม. 5 (เกรด 12) เพื่อเข้าเรียนวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี โดยใช้ผลสอบสมัครเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

การศึกษาระดับอุดมศึกษา

ระดับอุดมศึกษา (Tertiary Education) การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หมายถึง การศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษา ประกอบไปด้วย สถาบันการศึกษา  นี้เป็นตัวอย่างของสถาบันที่ได้รับการยอมรับดังต่อไปนี้ คือ

มหาวิทยาลัย (University)

ในประเทศแคนาดานั้นมี จำนวนมหาวิทยาลัยของรัฐมาก กว่า 200 แห่ง ที่เปิดสอนหลักสูตร  ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั่วแคนาดา ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ การเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยนั้น โดยทั่วไปจะไม่มีการสอบเข้า แต่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง จะกำหนดกฏเกณฑ์และมาตรฐานในการรับนักศึกษาเป็นของตัวเอง   นักเรียนต่างชาติอาจต้องเรียนปรับพื้นฐานภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรปริญญาตรี ของแคนาดา

หลักสูตรปริญญาตรีใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 3 – 5 ปี และบางมหาวิทยาลัยจะมีปริญญาตรี 2 ประเภท คือ

ปริญญาตรีแบบทั่วไป (Ordinary Degree) ซึ่งจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 3 ปี

ปริญญาตรีแบบเกียรตินิยม (Honours Degree) ซึ่งจะมีจำนวนหน่วยกิตมากกว่าแบบ Ordinary Degree และจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

หลักสูตรปริญญาโท ของแคนาดา

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปีครึ่ง – 2 ปี ขึ้นอยู่กับสถาบันและวิชาพื้นฐานของแต่ละหลักสูตร ที่จะต้องเรียนหรือต้องสอบ

หลักสูตร MBA ในแคนาดา

โดยปกติแล้วหลักสูตร MBA ในประเทศแคนาดาจะใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี (สำหรับการเรียนตามปกติ) และยังมีหลักสูตร MBA สำหรับนักศึกษา part-time ด้วย

 

 คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร

1.จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยมีเกรดเฉลี่ยอย่างต่ำ 3.00

2.ได้คะแนน GMAT 500-600

3.ได้คะแนนสอบ TOEFL ระหว่าง 550-600 4.

มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

หลักสูตรปริญญาเอก ของแคนาดา

ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 2 ปีหลังปริญญาโท หรือ 3 ปีหลังปริญญาตรีแบบเกียรตินิยม (Honour Degree) แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาประมาณ 3 – 5 ปี หลังจากจบปริญญาโท โดยเป็น Coursework ประมาณ 2 ปี ที่เหลือเป็นการค้นคว้างานวิจัย การเสนอรายงานเชิงวิชาการ และการเขียนวิทยานิพนธ์

 

วิทยาลัย (University College)

หลักสูตรการเรียนการสอนจะใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัย แต่จะเน้นด้านภาคปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนประมาณ 1 – 3 ปี โดยมีจุดประสงค์ที่จะผลิตนักศึกษาเพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรเทียบเท่าอนุปริญญา ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้โอนเข้าศึกษาต่อยังระดับมหาวิทยาลัยได้

 

วิทยาลัยอาชีวะ (Community College)

เปิดสอนหลักสูตรทางด้านวิชาชีพและทางด้านเทคนิค โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 2- 3 ปี ครอบคลุมทักษะวิชาชีพที่สำคัญๆ เช่น ก่อสร้าง, การพาณิชย์, อุตสาหกรรมและการบริการ เป็นต้น

 

วิทยาลัยฝึกอาชีพ (Career College)

เป็นวิทยาลัยเอกชนซึ่งเปิดหลักสูตรอบรมวิชาชีพในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น เลขานุการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

การศึกษาภาคปฏิบัติ (Co – op Education)

การศึกษาภาคปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา โดยทางสถาบันการศึกษาดำเนินการร่วมมือกับภาคธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง โดยมีระยะเวลาในการฝึกงานประมาณ 2 ภาคการศึกษาก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา

 

สถาบันสอนภาษาอังกฤษ (English Language Institutions)

เนื่องจากแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส จึงมีโรงเรียนซึ่งสอนทั้ง 2 ภาษา สำหรับนักศึกษา ต่างชาติอยู่มากมายเรียกว่า English as a Second Language (ESL) ซึ่งสอนภาษาอังกฤษ และ French as a Second Language (FSL) ซึ่งสอนภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนเหล่านี้กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ๆทั่วแคนาดา ซึ่งจะมีสอนทั้งหลักสูตรธรรมดา และหลักสูตรเฉพาะ เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ (Academic Purpose) เป็นต้น

นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทั่วไปๆก็เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ESL) และ ภาษาฝรั่งเศส (FSL) เช่นเดียวกัน สำหรับนัก ศึกษาต่างชาตินั้นไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งสองภาษาก็ได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน

 

การเรียนภาษาอังกฤษในแคนาดา

นักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับต่างๆ ของประเทศแคนาดาควรจะลงเรียนปรับพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษเสียก่อน โดยทั่วไปหลัก สูตรภาษาอังกฤษจะมีระยะเวลาการเรียนตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น สำหรับนักศึกษาที่ลงเรียนในหลักสูตร ที่มีระยะเวลา 3 เดือนสามารถขอวีซ่านักท่องเที่ยวได้หลักเกณฑ์ทั่วไป

มีจดหมายตอบรับการเข้าเรียนในหลักสูตรนั้นๆจากทางโรงเรียน (Letter of Acceptance) สำหรับหลักสูตรที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไปนักศึกษาจะต้องทำการตรวจสุขภาพด้วย ในกรณีที่นักศึกษาลงเรียนในหลักสูตรที่มีระยะเวลามากกว่า 3 เดือน นักศึกษาจะต้องขอวีซ่า นักเรียน การสมัครเข้าศึกษาต่อประเทศแคนาดา

 

สภาพอากาศของแคนาดา

มีความหลากหลายทางตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศที่เย็นเยือก จากชายฝั่งทะเลด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่งจะมีอุณหภูมิที่อบอุ่นกว่า ในขณะที่พื้นที่ด้านในของประเทศ มีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างรุนแรงอุณหภูมิในช่วงกลางวันของฤดูร้อนอยู่ในช่วง 35 องศาเซลเซียส หรือร้อนกว่านั้น สำหรับอุณหภูมิในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง แบ่งออกเป็น 4 ฤดู คือ

1.ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม อากาศจะเย็นลงอย่างรวดเร็วอยู่ที่ประมาณ 7-12 องศาเซลเซียส และจะหนาวเย็นสลับกับหิมะ ในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม

2.ฤดูหนาวเดือนมกราคมถึงมีนาคม เป็นช่วงที่อากาศหนาวจัด โดยเฉพาะปลายมกราคม- กุมภาพันธ์ อุณหภูมิอาจติดลบ 20-30 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า

3.ฤดูใบไม้ผลิเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ต้นฤดูใบไม้ผลิอากาศจะเย็นถึงหนาว อุณหภูมิประมาณ 0-10 องศาเซลเซียส และอากาศจะอบอุ่นขึ้นที่ละน้อยสลับฝน อุณหภูมิช่วงปลายใบไม้ผลิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส

4.ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ช่วงอุณหภูมิสูงสุดคือประมาณ 34-37 องศาเซลเซียส

สนามบินสำคัญ

1.สนามบินโทรอนโตเพียร์สัน (Toronto Pearson International Airport) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “สนามบินโตรอนโต” เป็นสนามบินหลักของเมืองโทรอนโตและเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่และมีผู้ใช้บริการหนาแน่นที่สุดของประเทศแคนาดา การเดินทางสู่ตัวเมืองใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที โดยการเดินทางสะดวกและรวดเร็วที่สุด คือ รถไฟ UP Express ซึ่งมีเส้นทางตรงจากตัวเมืองสู่สนามบินในระยะเวลาเพียง 25 นาที และมีรอบรถไฟทุก 15 นาที

2.สนามบินแวนคูเวอร์ (Vancouver International Airport) เป็นสนามบินหลักของเมืองแวนคูเวอร์ห่างจากตัวเมืองแวนคูเวอร์ไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 25-30 นาที และห่างจากตัวเมืองริชมอนด์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 7 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีการเดินทางที่ตรงเวลาและรวดเร็วที่สุด คือ รถไฟ ซึ่งมีเส้นทางไปทั้ง 2 เมือง

3.สนามบินควิเบกชองเลอซาช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ 11 กิโลเมตร จากเมืองควิเบก การเดินทางสู่ตัวเมืองมีหลายวิธีให้เลือก เช่น รถบัส รถแท็กซี่ หรือรถลีมูซีน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 – 20 นาที

4.สนามบินอื่นๆ เพื่อเดินทางไปยังเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ได้แก่ สนามบินแฮมิลตัน สนามบินมอนทรีออล สนามบินซาร์เนีย สนามบินเมเปิ้ลเบย์ สนามบินมองต์เทรมแบรนท์ สนามบินเอดมันตัน สนามบินเคมบริดจ์เบย์ สนามบินออตตาวาสนามบินดอว์สันซิตี้ สนามบินเยลโลว์ไนฟ์ ฯลฯ

การเดินทางในประเทศแคนาดา

อาณาเขตของแคนาดากว้างขวางมาก แต่ระบบขนส่งสาธารณะก็ครอบคลุมและเข้าถึงพื้นที่ส่วนต่างๆ ของประเทได้เป็นอย่างดี

1.เครื่องบิน สายการบิน Air Canada ให้บริการบินภายในประเทศ

2.รถบัส บริษัทรถบัสต่างๆ ที่ให้บริการในการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่และเมืองเล็กทั่วไปประเทศ ได้แก่ Greyhound Canada, Brewster, Quick Coach Lines หรือ Quick Shuttle, BoltBus Megabus, Coach Canada

3.รถไฟฟ้า (Sky Train) มี 3 เส้นทาง ได้แก่ Expo Line, Millennium Line (รถไฟฟ้าสายสีเหลือง) และCanada Line วิ่งมาจบที่สถานีปลายทางเดียวกันคือสถานีวอเตอร์ฟรอนท์ในดาวทาวน์

4.เรือโดยสาร เดินทางสู่เกาะแวนคูเวอร์โดยเรือเฟอร์รี่

5.รถไฟชมวิว เส้นทาง The Rocky Mountaineer ซึ่งวิ่งจากเมืองแวนคูเวอร์ตัดผ่านเทือกเขาร้อคกี้ไปยังเมืองแจสเพอร์ เดินทางในเวลาตอนกลางวันเท่านั้น เพื่อให้ผู้โดยสารชื่นชมกับความงดงามของภูมิประเทศรอบข้าง โดยพักค้างคืนที่เมืองแคมลูปซ์ ก่อนเดินทางต่อไปในวันรุ่งขึ้น

 

ชาวแคนาดา (Canadian) มีความคลั่งไคล้ในกีฬาเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะด้วยสภาพภูมิอากาศของแคนาดาในช่วงฤดูหนาว มีอากาศหนาวเย็นมากจนถึงจุดเยือกแข็ง เพราะฉนั้นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแคนาดา จะได้แก่ Ice Hockey และ Ski

ยิ่งในช่วงเทศกาลกีฬาสำคัญ อย่างเช่น The Winter Olympics Games ( กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ) หรือ Olympics Hockey ชาวแคนาดาจะมีความตื่นตัวเป็นพิเศษกับทุกๆการแข่งขัน เรียกได้ว่าติดตามในทุกคู่ ทุกรายการเลยก็ว่าได้ และหลังจากการแข่งขันถ้าแคนาดาได้รับชัยชนะในการแข่งขันใดๆ

อาหารประจำชาติ หรือ Traditional Food ของแคนาดาจะมีกลิ่นอายผสมผสานของความเป็นฝรั่งเศสอยู่เล็กน้อย จะมีหลากหลายมากๆค่ะ แต่ที่เด่นๆ จะมีอยู่ 6 อย่างด้วยกัน

  1. Poutine

เป็นอาหารขึ้นชื่อของแคนาดาเลย ประกอบไปด้วย French Fries / เบค่อน / ชีส และสุดท้ายราดน้ำเกรวี่

  1. Canadian Breakfast

อาจจะเคยได้ยิน หรือได้ทาน American Breakfast กันมาบ้างใช่มั้ย ส่วนของแคนาดาก็จะคล้ายๆกัน แต่อาจจะเยอะกว่านิดนึง ของแคนาดาจะมีทั้ง แพนเค้ก วาฟเฟิ่ล รวมทั้งผลไม้ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ ฯลฯ

  1. Maple Syrup Tart

เป็นขนมที่นิยมทานคู่กับน้ำชา จะมีความหวานของ Maple Syrup หรือน้ำเชื่อมที่ทำมาจากเมเปิ้ลนั่นเอง

  1. Maple Syrup

สัญลักษณ์ของประเทศแคนาดาคือใบเมเปิ้ล และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือพระเอกของเรา Maple Syrup เป็นที่นิยมในการราดลงบนแพนเค้ก วาฟเฟิ่ล ผสมในชา น้ำไปอบคุ๊กกี้ หรือใส่ในอาหารต่างๆ

  1. Nanaimo Bar & Butter Tart

ขนมหวานสัญชาติแคนาเดียน ต้อง Nanaimo Bar (นาไนโม่บาร์) เลย โดยชื่อ Nanaimo เป็นชื่อของถนนแห่งหนึ่งในแดนาคานั่นเอง ขนมนาไนโม่บาร์นี้จะมีทั้งหมด 3 ชั้น ฐานจะมีรสชาติออกเค็มๆกรอบ ทำจากมะพร้าวอบกับถั่วและcrackers ส่วนที่2 คือไส้ ตามสูตรตั้งเดิมจะเป็นรสวนิลาคัสตาร์ดสีเหลืองอ่อน และส่วนที่3 คือ ช็อคโกแลตกานาชที่ตกแต่งหน้า ทำจากช็อคโกแลตกับเนย โดยมักจะมาคู่กับทาร์ตเนย

  1. Meat Pie or Tourtière

พายเนื้อ ส่วนใหญ่จะทำจากเนื้อวัวและเนื้อหมู ทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ อาหารว่าง ถึงแม้จะเป็นพาย ก็ไม่ได้เป็นขนมเสมอไป

รวบรวมเว็ปไซต์หาที่พักในแคนาดา

Vancouver Craigslist

– เรียบง่าย สามารถเลือกหาที่อยู่ตามรูปแบบที่พักได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อพาร์ทเม้นท์ คอนโด ทาวน์เฮ้าส์

https://vancouver.craigslist.org/search/apa

Kijiji

– สามารถเลือกได้ทุกเมืองในแคนาดา

https://www.kijiji.ca/

Pad Mapper

– เว็ปไซต์มีหลายเมืองให้เลือก แต่มักจะเป็นเมืองหลักอย่าง Montreal Toronto Vancouver เท่านั้น

– สามารถเลือกเรทราคาได้ สะดวกต่อการหาที่พักแบบเจาะจงในเขตพื้นที่ เนื่องจากสามารถดูเป็นมุมมองแผนที่ได้เลย

https://www.padmapper.com/

Apartment Love

– คล้ายๆ Kijiji สามารถเลือกได้ทุกเมือง

– เว็ปไซต์ดีไซน์สะอาดตา ใช้งานง่าย

– สามารถเลือกเรทราคาได้

https://apartmentlove.com/home

Hostel World

https://www.hostelworld.com/

Hostelling International

https://www.hihostels.com/

Global Education City

http://www.studentcommunity.ca/

Canada Homestay Network

http://canadahomestaynetwork.ca/for-students/#services

Accommodation in canada

https://accommodationincanada.ca/

Cypress Accommodations

https://www.cypressaccommodations.com/index.php

Northwest Homestay

http://www.northwesthomestay.com/

ตัวอย่างค่าครองชีพโดยเฉลี่ยในแคนาดา

ตัวอย่างค่าครองชีพโดยเฉลี่ยในแคนาดา

– การรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร : CA$15 ต่อคน หรือประมาณ 400 บาท

–  ราคาตั๋วต่อเที่ยวในระบบขนส่งสาธารณะในท้องถิ่น : CA$3.10 หรือประมาณ 80 บาท

– ขนมปังก้อน : CA$2.76 หรือประมาณ75 บาท

– ตั๋วชมภาพยนตร์ : CA$12.99 หรือประมาณ 350 บาท

– ค่ายิมรายเดือน : CA$48.42 หรือประมาณ 1,300 บาท

– ค่าประกันสุขภาพภาคบังคับ : CA$600 ต่อปี หรือประมาณ 16,130 บาท

ค่าที่พักอาศัย

สำหรับที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษาของแคนาดาถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หอพักมหาวิทยาลัย ที่พักส่วนตัว (หอนอกมหาวิทยาลัย) และที่พักแบบ Host Family…

ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่นักศึกษาส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ในหอของมหาวิทยาลัยในปีแรกที่เข้าศึกษา ซึ่งเรียกว่า “Residence” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “rez” ซึ่งการอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยเราจะต้องทำการแชร์ห้องพัก (dormitory หรือ dorm) ร่วมกันคนอื่น นอกจากนี้ยังจะต้องแชร์สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ห้องรับแขก ห้องครัว และห้องซักรีดอีกด้วย โดยมีค่าที่พักอยู่ที่ประมาณ CAD$ 3,000-5,000 ต่อปี

หลังจบปีการศึกษาแรก เราสามารถออกมาเช่าบ้านหรือหอพักข้างนอกมหาวิทยาลัยร่วมกับเพื่อนๆ ได้ ซึ่งในแต่ละเมืองจะมีค่าเช่าที่แตกต่างกันออกไป โดยเมืองใหญ่ๆ อย่าง แคลการี่ โตรอนโต และแวนคูเวอร์ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยที่เราจะต้องมีงบประมาณอยู่ที่ CAD$ 250-700 ขึ้นไป ในการเช่าบ้านหรือหอพักนอกมหาวิทยาลัยในเมืองดังกล่าว

 

ตัวอย่างค่าหอพัก ในเมืองต่างๆ ของแคนาดา

– โตรอนโต (Toronto) CAD$ 1,900

 

– แวนคูเวอร์ (Vancouver) CAD$ 1,950

 

– ออตตาวา (Ottawa) CAD$ 1,300

 

– มอนทรีล (Montreal) CAD$ 1,050

 

– เอ็ดมอนตัน (Edmonton) CAD$ 1,500

 

– แคลการี่ (Calgary) CAD$ 1,600

 

สำหรับ ที่พักแบบโฮมสเตย์ หรือ Host Family เราสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าพักอาศัยอยู่กับครอบครัวแบบไหนในแคนาดา โดยที่เราจะต้องจ่าค่าธรรมเนียม Initial Placement Fee เป็นเงิน CAD$ 200 และจ่าค่าเช่าเป็นรายเดือนอยู่ที่ประมาณ CAD$ 400-800 ต่อเดือน เพื่อใช้เป็นค่าอาหารและค่าที่พักอาศัยกับครอบครัวที่เราได้เลือกไปแล้ว และนอกจากที่เราจะได้พักอาศัยอยู่กับครอบครัวที่เราต้องการแล้ว เรายังได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าของบ้านด้วย ได้พัฒนาทักษะในด้านภาษาให้เก่งมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆ เกี่ยวกับประเทศแคนาดาด้วย ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าหาที่ไหนไม่ได้จริงๆ

 

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การพักอยู่ในหอของมหาวิทยาลัยจะมีค่าเช่าที่ถูกกว่าและยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อาหารได้ด้วย โดยที่เราสามารถซื้ออาหารในราคาถูกที่โรงอาหารมาทานได้เป็นประจำ แต่ถ้าเราออกไปอยู่หอข้างนอกมหาวิทยาลัย เราจะต้องซื้อของเองทุกอย่างในราคาปกติที่ค่อนข้างแพงในเมืองใหญ่ๆ ส่วนที่พักแบบ Host Family  ถือได้ว่าเป็นที่พักอาศัยที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้วิถีชีวิตของคนแคนาดาได้เป็นอย่างดี

 

เว็บไซต์หางาน

https://www.jobbank.gc.ca/trend-analysis/search-occupations

https://in.indeed.com/?r=us

https://www.gooverseas.com/blog/get-job-canada

https://www.eluta.ca/

https://www.workopolis.com/en/

https://forum.vancouverthai.com/c/job/7

ตาม Facebook Group ต่างๆ

 

ค่าแรงขั้นต่ำของแคนาดา – เฉลี่ย 13.16 ดอลลาร์แคนาดาต่อชั่วโมง = 309.34 บาท ต่อชั่วโมง

แคนาดา เป็นประเทศที่มีจำนวนค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ และดินแดน โดยอยู่ที่ 11.32 – 15 ดอลล่าร์แคนาดา ต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ยที่ 13.16 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 309.34 บาท) ซึ่งแต่ละรัฐเอง ก็มีระยะเวลาการขึ้นค่าแรงที่แตกต่างกันไป

7 สิ่งที่ควรต้องรู้ ก่อนไปใช้ชีวิตอยู่ที่แคนาดา

  1. ประเทศแคนาดา เป็น bilingual country

ใช่แล้วครับ แคนาดามีภาษากลางหรือภาษาทางราชการอยู่สองภาษา ได้แก่ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ใช่ว่าทุกท้องที่หรือทุกเมืองจะพูดได้ทั้งสองภาษา ประมาณการกันว่าทั้งประเทศมีประชากรเพียง 17.5% เท่านั้นที่พูดได้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ตามข้อมูลมีเพียงเมือง New Brunswick เท่านั้นที่เป็นเมือง bilingual ส่วนเมือง Quebec ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ แต่หากน้องๆ พูดฝรั่งเศสไม่เป็น ก็ไม่ต้องกังวลใจไป ภาษาอังกฤษนี่แหละที่ใช้ได้ทุกที่ (เว้นแต่ว่าน้องๆ จะไปเรียนในหมู่บ้านเล็กๆ ในแถบชนบทของ Quebec)

 

  1. Toronto ไม่ใช่เมืองหลวงของแคนาดา

แต่เป็นเมือง Ottawa ต่างหาก ซึ่งหลายๆ คนมักเข้าใจผิดคิดว่าเป็น Toronto ส่วนทำไมต้องเป็น Ottawa ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1857 โดยพระราชินีวิกตอเรีย ทรงเลือก Ottawa เพราะเป็นเมืองที่อยู่ระหว่าง Montreal และ Toronto ทั้งยังอยู่ใกล้ชายแดน Ontario และเมือง Quebec (ศูนย์กลางของแคนาดาในสมัยนั้น) นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะ Ottawa อยู่ห่างจากชายแดนอเมริกา ซึ่งปลอดภัยกว่าหากแคนาดาถูกโจมตี ส่วนชื่อประเทศ “Canada” นั้น มาจากคำว่า “Kanata” ภาษาชนเผ่า Iroquois ซึ่งอาศัยอยู่ใน Quebec มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 มีความหมายว่า “ถิ่นที่อยู่หรือหมู่บ้าน” (ดูรายชื่อโรงเรียนสอนภาษาใน Toronto)

 

  1. เป็นประเทศที่ซีเรียสเรื่อง “มารยาทและความสุภาพ” มาก

ชาวแคนาเดียน ขึ้นชื่อทางด้านความเป็นพิธีการ ความสุภาพและมารยาท ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมของประเทศ น้องๆ ควรหัดพูดลงท้ายด้วยคำว่า “please” และคำว่า “thank you” ให้คุ้นชิน การพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวัน จะเป็นแบบที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า sugar coated หรือ indirect คือเลือกที่จะพูดจาให้น่าฟัง พูดอ้อมๆ เพื่อถนอมน้ำใจ ไม่นิยมพูดจากระโชกโฮกฮาก ทื่อๆ หรือพูดตรงๆ เพราะจะถูกนับว่าไม่มีมารยาท

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อ่อนไหวมากๆ และน้องๆ ควรระวังคือ ต้องแยกให้ออกระหว่าง ชาวแคนนาเดียนและอเมริกัน อย่าได้เผลอพูดอะไรที่สื่อว่า แคนาดาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา หรืออะไรทำนองนั้น ชาวแคนาเดียนก็คล้ายๆ กับคนทุกประเทศที่ภาคภูมิใจในชาติของตัวเอง พวกเขาเพียรสร้างชื่อเสียงในฐานะที่เป็นชาติที่สุภาพและอดทน ซึ่งเป็นคุณสมบัติและภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างตรงกันข้ามกับชาวอเมริกัน (อ่าน 5 ประโยคปฏิเสธแบบสุภาพ และ การรับมือกับ culture shock เมื่อต้องไปเรียนต่างประเทศ)

 

  1. การให้ทิป ถือเป็นธรรมเนียมควรปฏิบัติ

เมื่อพูดถึงเรื่องของการให้ทิป หรือ tipping ในแคนาดาถือเป็นธรรมเนียมเลยว่าต้องให้ทิปเมื่อใช้บริการ เช่น แท็กซี่ ร้านอาหาร ร้านตัดผม และบาร์ต่างๆ โดยคิดที่ 15 % ของบริการ หรือมากกว่านั้นก็ได้ การไม่ให้ทิปถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะชาวแคนาเดียนจะทำเช่นนั้นก็ต่อเมื่อ บริการนั้นแย่สุดๆ หรือผู้ให้บริการได้สร้างความไม่พอใจอย่างใหญ่หลวง

 

  1. ขึ้นชื่อในเรื่องของความเป็นมิตร

หากคนอังกฤษขึ้นชื่อเรื่องความเป็นอนุรักษ์นิยม ชาวแคนาเดียนก็เป็นที่รู้จักในด้านความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส และมีนิสัยชอบช่วยเหลือ น้องๆ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องนิสัยใจคอ ตราบใดที่เรามีมารยาทต่อเจ้าของประเทศ นอกจากนี้ แคนาดายังได้ชื่อว่าเป็น the world’s most educated country หรือประเทศที่มีประชากรได้รับการศึกษามากที่สุดในโลก จาก The Organisation for Economic Cooperation and Development อีกด้วย โดยมากกว่าครึ่งของประชากร ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี

 

  1. เป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพแวดล้อมดีที่สุด

จากรายงานล่าสุดของ World Health Organization (WHO) แคนาดา อยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีอากาศบริสุทธิ์ที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่กว่า 30 % ของประเทสคือพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะให้อากาศที่บริสุทธิ์แล้ว ยังเป็นแหล่งธรรมชาติที่งดงามขึ้นชื่ออีกด้วย

 

ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ ที่นี่ ห้ามไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ราชการ ร้านค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล สำนักงานต่างๆ และพื้นที่ส่วนกลางในย่านพักอาศัย (คล้ายๆ บ้านเรา แต่เข้มงวดในการจับปรับมากกว่า)

 

  1. เวลาในประเทศ แบ่งออกเป็น 6 Time Zones

เนื่องจากประเทศแคนาดา เป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว้างขวางเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จึงต้องแบ่งไทม์โซนออกเป็น 6 เขต ได้แก่ Pacific Standard (PST), Mountain Standard (MST), Central Standard (CST), Eastern Standard (EST), Atlantic Standard (AST) และ Newfoundland Standard (NST) ดังนั้น น้องๆ ควรศึกษาเรื่องไทม์โซนให้ดี ว่าเมืองที่น้องๆ จะไปนั้นอยู่ในไทม์โซนใด เพื่อป้องกันการสับสนเรื่องเวลา

โรงเรียนสอนภาษาในแคนาดา

โรงเรียนสอนภาษาในแคนาดา

ILSC Languages School    

Vancouver, Toronto, Montreal

https://www.ilsc.com/

 

ILAC (International Language Academy of Canada)

Vancouver, Toronto, Montreal

 

Oxford House College (OHC)

Vancouver, Toronto, Calgary

https://www.ohcenglish.com/

 

Oxford International English Schools

Vancouver, Toronto

 

Sparchcaffe – GEOS

Vancouver, Toronto, Montreal, Victoria, Ottawa, Calgary

https://www.sprachcaffe.com/english/main.htm

 

Kaplan International Languages

Vancouver, Toronto

https://www.kaplaninternational.com/canada

 

EC English

Vancouver, Toronto, Montreal

https://www.ecenglish.com/en/school-locations/canada

 

Columbia College

Vancouver

 

English Language Centre – University of Victoria

Victoria

https://continuingstudies.uvic.ca/elc

 

Toronto School of Management ( TSom )

Toronto

https://www.torontosom.ca/

 

Stafford house School of English 

Toronto , Calgary 

https://www.staffordhouse.com/

 

โรงเรียนสอนวิชาชีพในแคนาดา

Greystone College

Vancouver, Toronto, or Montréal

https://www.ilsc.com/greystone-college

 

Trebas Institute

Toronto, or Montréal

https://www.trebas.com/

 

Toronto School of Management

Toronto

https://www.torontosom.ca/

 

Centennial College

Toronto

https://www.centennialcollege.ca/

 

Niagara College

Toronto

https://www.niagaracollege.ca/

 

ILAC Higher Education

Vancouver, Toronto

https://www.ilac.com/tag/higher-education/

 

Bay River College

Calgary

https://bayrivercollege.ca/

 

Vancouver film School

Vancouver

https://vfs.edu/

 

Pacific Institute of Culinary Arts

Vancouver

https://www.picachef.com/

 

Seneca College

Toronto

https://www.senecacollege.ca/home.html

 

Vanwest College

Vancouver , Kelowna

https://vanwest.com/

 

Langara College

Vancouver

https://langara.ca/index.html

 

North Island College

Vancouver

https://www.nic.bc.ca/

 

Fraser International College

Vancouver

 

Evergreen College

Toronto ,Brampton , Markham , Mississauga,

Oakville , Scarborough , Calgary , Alberta

https://www.evergreencollege.com/en/

 

Douglas College

New Westminster

https://www.douglascollege.ca/

 

Reference

https://www.sprachcaffe.com/thai/magazine-article/10-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2-canada-2016-11-02.htm

 

http://www.successcanada.org/canada.html

 

https://www.oecglobal.com/CND/CAN_studyaboard_info.html

 

https://www.oecglobal.com/CND/CAN_education_sys.html

 

https://www.traveloka.com/th-th/flight-to-canada

 

https://www.acadexthailand.com/getting-to-know-canada/

 

https://www.istudycanada.com/post/accommodation-search

 

 

https://thematter.co/quick-bite/10-countries-minimum-wage/118246

 

http://www.si-englishbkk.com/study-guide/facts-you-should-know-about-canada/

Back to Top