Air Gold Coast Flight Training

วันนี้พี่ๆอีเดน จะพาน้องๆไปชมสถาบันชื่อดังที่สอนการขับเครื่องบินโดยเฉพาะ บอกได้เลยว่าที่นี่เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงและ มีคุณภาพการเรียนการสอนที่ดีมากอีกสถาบัน นั่นคือ Air Gold Coast Flight Training

Air Gold Coast  ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1968 เป็นหนึ่งในธุรกิจการบินที่ดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดในออสเตรเลีย โดยปกติแล้ว Air Gold Coast จะเปิดรับนักเรียนเฉพาะ Domestic Students หรือนักเรียนที่มีสัญชาติออสเตรเลียเท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบัน Air Gold Coast ได้เปิดรับสมัครนักเรียนนานาชาติแล้ว ถือว่าเป็นความโชคดีมากๆเลยค่ะ สถานที่ตั้งของ Air Gold Coast ตั้งอยู่ในสนามบิน Coolangatta Airport เลยค่ะ เรียนจบมาน้องๆสามารถไปสอบเป็น Pilot ได้เลยค่ะ ที่นี่ผูกขาดกับสายการบินญี่ปุ่นด้วยนะคะ ทางสายการบินญี่ปุ่นเขาจะส่งนักเรียนมาเรียนที่นี่ แล้วเมื่อเรียนจบก็ให้กลับไปทำงานเป็นนักบินที่ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นสถาบันที่สายการบินญี่ปุ่นไว้วางใจที่จะส่งนักเรียนมาเรียนเพื่อนำความรู้จากที่นี่กลับไปใช้ทำงานได้จริงๆค่ะ

Air Gold Coast จะสอนให้ขับทั้งเครื่องบินขนาดเล็กและเครื่องบินขนาดใหญ่ นั่นหมายความว่าที่นี่จะมีเครื่องบินให้นักเรียนฝึกหัดขับทั้ง Commercial Pilot เครื่องบินลำใหญ่ และเครื่องบินส่วนตัวลำเล็ก Air Gold Coast มีพื้นที่กว่า 800 เอเคอร์ให้นักเรียนได้หัดขับเครื่องบิน มีเครื่องบินทั้งหมด 40 ลำ  ที่นี่จะสอนทุกอย่างเกี่ยวกับการขับเครื่องบิน มีนักเรียนไทยเคยมาเรียนที่นี่แล้วด้วยนะคะ ซึ่งเมื่อกลับไปยังประเทศไทย น้องๆไม่ต้องไปเรียนเพิ่มแล้วค่ะ แค่น้องๆต้องกลับมาสอบเอา License ที่ประเทศไทยค่ะ การเรียนจะเรียนทฤษฎีประมาณ 1 เทอม แล้วน้องๆก็จะได้ไปฝึกหัดขับเลยค่ะ ซึ่งใน 1 ปี น้องๆจะต้องฝึกบิน 160 ชั่วโมงถึงจะผ่านนะคะ

เมื่อน้องๆเรียนจบจากที่นี่ สามารถ Pathway ไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีในสาขานี้ได้ที่ Griffith University หรือ Southern Cross University เรียนอีกแค่ 2 ปีเท่านั้นค่ะในระดับปริญญาตรี

เอาล่ะ วันนี้พี่ๆอีเดนให้ดูภาพบรรยากาศ และนำข้อมูลเบื้องต้นของ Air Gold Coast มาให้น้องๆได้ทำความรู้จักกันก่อน แล้วครั้งหน้าพี่ๆอีเดนจะนำข้อมูลเรื่องคอร์สเรียนที่นี่มาให้น้องๆดูกันว่ามีคอร์สเรียนอะไรบ้าง ราคาค่าเรียนเท่าไหร่ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ!!

สอบถามข้อมูลการเรียนต่อออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา วีซ่านักเรียน วีซ่าท่องเที่ยว ได้ที่

LINE: @Edenstudentservice หรือแอดไลน์คลิก https://line.me/R/ti/p/%40ogn1392m

ถามตอบปัญหาชีวิตนักเรียนไทยในออสเตรเลียได้ที่ Askyada: https://www.facebook.com/askyada/

ตามติดชีวิตนักเรียนไทยในออสเตรเลียใน Youtube: http://bit.ly/2KRopp2

สรุปมาให้แล้ว! ว่าด้วยเรื่องขอวีซ่า PR ออสเตรเลีย

สำหรับคนที่มีทักษะดีดี ล่า Point แบบที่ต้องใช้ความสามารถ และประสบการณ์ล้วนๆ

ก่อนอื่นขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการขอ PR แบบใช้สกิลทักษะการทำงานกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง ?

  1. Independent Skilled Migrant (subclass 189)

คือ การขอวีซ่าเป็น PR โดยใช้ความรู้ ประสบการณ์ในการทำงาน วิธีนี้ไม่ต้องให้ใครสปอนเซอร์

โดยคะแนนที่จะต้องทำให้ได้ คือ  65 คะแนนขึ้นไป

2. Skilled Nominated (Subclass 190)

เป็นการขอ PR โดยให้รัฐสปอนเซอร์ให้ 5 คะแนน แต่จะต้องอยู่ในสาขาอาชีพที่รัฐนั้นต้องการ ดังนั้น

คะแนนที่เหลือจะต้องทำให้ได้ คือ 60 คะแนน

3. Skilled Work Regional (subclass 491)

เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐ (town council) ที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area)

หรือญาติที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area)  สปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้น ๆ

ต้องการ 15 คะแนน ดังนั้น คะแนนที่จะต้องทำให้ได้ 50 คะแนน

จะเห็นว่าวิธีการที่เราจะสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งใครเลยก็คือ Skilled Migrant

เหมาะสำหรับคนที่มีวุฒิการศึกษาสูง จบจากสาขาอาชีพที่ทางรัฐออสเตรเลียต้องการ

สำหรับใครที่เริ่มสนใจเรามาดูกันว่าหลักในการคำนวณคะแนนมีอะไรบ้าง แล้วจะทำยังไงจะล่า Point ให้ได้ !

  1. ช่วงอายุสำคัญต่อการล่าแต้ม : ช่วงอายุที่ต่างกันจะได้คะแนนต่างกันไปด้วย

18-24; 25 points

25-32; 30 points

33-39; 25 points

40-44; 15 points

โดยช่วงอายุ 25-32 ปี จะได้ คะแนนสูงสุดคือ 30  Point เพราะรัฐถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน

มีความสามารถในการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลียและเสียภาษี

2. ทักษะภาษาอังกฤษดีมีชัยไปกว่าครึ่ง :

  • Proficient English ; IELTS 7 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่าได้ 10  Point
  • Superior English ; IELTS 8 (general) each band/OET A หรือเทียบเท่าได้ 20  Point

*Competent English; IELTS 6 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่าสามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้

3. ประสบการณ์การทำงานจากประเทศอื่น

เงื่อนไข คือ ต้องทำงานเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ขอ PR และเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ทำงาน 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป การนับ Point คือ

  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points

ดังนั้น จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ระบุว่าทำตำแหน่ง หน้าที่ และวันเริ่ม-สิ้นสุดการทำงานวันที่เท่าไหร่จึงสำคัญมาก

4. วุฒิการศึกษาช่วยคุณได้

โดยวุฒิจากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย นับคะแนนจากการศึกษาที่สูงที่สุด 

(ไทยได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียทุกสถาบัน)

  • ปริญญาเอกได้ 20  Point
  • ปริญญาตรี-ปริญญาโทได้ 15 Point
  • Diploma , ปวช-ปวสได้ 10  Point

5. เข้าคอร์สของออสเตรเลียสิ

ไม่ว่าจะคอร์สอะไรหากเรียนอย่างต่ำ 2 ปี  (ไม่นับเรียนภาษาอังกฤษ) จะได้ 5  Point

6. สถานะโสด

ได้ 10  Point แต่ถ้ามีคู่ชีวิต ภาษาดี  ก็มีส่วนช่วยได้อีก 5 Point  กลับมา

7. ล่า  Point  อื่นๆโดยจะขอหยิบยกมาบางส่วน

  • สอบผ่านภาษาต่างประเทศ ที่รับรองโดยระดับผู้เชี่ยวชาญ (NATTI) จะได้ 5  Point
  • โสด จะได้ 10  Point (เพราะรัฐบาลเห็นว่าหากคนสมัครคู่ครองไม่ค่อยมี skill อะไรอาจเป็นภาระได้)
  • Professional Year จะได้ 5  Point  (IT, Accounting, Engineering)
  • เรียนที่ประเทศออสเตรเลียในสถาบันที่อยู่พื้นที่ส่วนภูมิภาครอบนอกได้ 5  Point

เอาละ ใครอยากคำนวณ Point ของตัวเอง ไปลองได้ที่

https://immi.homeaffairs.gov.au/help-support/tools/points-calculator

สู้สู้นะคะ เราเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่า

Update : 30 June 2021

การเดินทางในซิดนีย์

การเดินทางในซิดนีย์นั้นง่ายและสะดวกสบายกว่าที่เราคิดไว้เยอะ น้องๆสามารถใช้เวลาเพียง 20 นาทีนั่งรถไฟเข้าไปถึง

CBD (Central Business District) หรือ 40 นาทีนั่งรถเมล์ไปถึงชายหาด Bondi ที่มีชื่อเสียง โดยการเดินทาง

ในซิดนีย์นั้นมีทั้ง Sydney Train, Sydney Light Rail, Metro, Bus, Ferry และ Uber

  • Sydney train

วิธีการเดินทางที่เป็นที่นิยมที่สุดในซิดนีย์ก็คือการเดินทางโดยรถไฟค่ะเพราะเส้นทางรถไฟในซิดนีย์นั้นครอบคลุม

สถานที่สำคัญๆ ตั้งแต่ในตัวเมืองไปยังรอบนอกเมือง แถมยังไม่แออัดจนเกินไปแม้ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

รถไฟสายต่างๆยังมีแผนผังอธิบายชัดเจน ชานชาลาไม่ซับซ้อนจนเกินไป แม้จะเดินทางมาซิดนีย์เป็นครั้งแรก

ก็ไม่หลงแน่นอนค่ะ

  • Sydney Light Rail

เป็นรถไฟรางเบาที่ให้บริการในตัวเมืองซิดนีย์เป็นหลัก หากเทียบกับรถไฟแล้วความนิยมถือว่ายังน้อยเนื่องจาก

เส้นทางไม่ได้ครอบคลุมเหมือนรถไฟค่ะ ความเห็นพี่ยาดาคิดว่า Sydney Light Rail เหมือนรถเมล์เพียงแต่

หน้าตาคล้ายรถไฟเท่านั้นเองค่ะ

  • Metro

ก็คือรถไฟเหมือน Sydney Trains เลยค่ะเพียงแต่คนละเส้นทาง โดยเส้นทางของ Metro นั้นจะขึ้นเหนือไปทาง

North West ของซิดนีย์ค่ะ Metro สายนี้เพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นการบริการทางคมนาคม

น้องใหม่ที่รัฐบาลสร้างเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ชาวซิดนีย์ทุกคนค่ะ

  • Bus

รถเมล์เป็นอีกวิธีการท่องเที่ยวที่สะดวกสบายอีกวิธีหนึ่งไม่แพ้รถไฟ แต่อาจจะล่าช้าในเรื่องของเวลาเพราะบางครั้ง

การจราจรบนท้องถนนก็ไม่สามารถคาดคะเนได้ แต่หากเทียบกับรถเมล์บ้านเราแล้วก็สามารถบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า

รถเมล์ที่ซิดนีย์น่านั่งและสะอาดกว่าเยอะค่ะ หากใครไม่มีธุระเร่งรีบก็สามารถนั่งรถเมล์ชมเมืองเพลินๆ ไปได้เหมือนกันนะคะ

  • Ferry

เรือบริการอยู่ที่อ่าวซิดนีย์ฮาร์เปอร์ หรือรถไฟสถานี Circular Quay อันโด่งดัง สามารถพาเราข้ามฝั่งไปยัง

Manly Beach และ Watson Bay ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้เรายังสามารถชมวิวของ Opera House สัญลักษณ์

ของออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก พร้อมกับชมวิวและรับลมทะเลเพลินๆได้อีกด้วยค่ะ

  • Uber

สำหรับใครที่ต้องการความสะดวกสบายก็สามารถใช้บริการ Uber หรือรถแท็กซี่ที่นี่ได้ค่ะ จริงๆแล้วซิดนีย์ก็มีรถแท็กซี่

ทั่วไปให้บริการแต่ Uber นั้นมีราคาย่อมเยาว์กว่าแถมยังสามารถโหลด Application แล้วเรียกให้ Uber มารับและส่ง

ที่ไหนก็ได้ค่ะ นอกจากนี้ Uber ยังมีบริการ UberPool หรือการเลือกบริการราคาประหยัดโดยเราจะต้องโดยสารไปกับ

ผู้โดยสารคนอื่นที่เดินทางไปเส้นทางเดียวกัน ซึ่งราคาจะลดมาครึ่งนึงเลยค่ะ แถมยังมีความปลอดภัยและไปถึงจุดหมาย

ปลายทางได้รวดเร็วพอๆกับการเลือกบริการแบบ Uber ทั่วไปด้วยค่ะ

เป็นยังไงล่ะคะการเดินทางในซิดนีย์มีหลายแบบให้เลือกเลยใช่ไหมคะ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าเราควรจะเดินทางไปยังจุดหมายปลาย

ทางด้วยพาหนะใดดี พี่ยาดาแนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ transportnsw.info แล้วกรอกต้นทางและปลายทางที่เราอยากจะไป

แล้วระบบจะคำนวณให้เลยค่ะว่าวิธีไหนไปถึงรวดเร็วที่สุดพร้อมทั้งบอกค่าเดินทางทั้งหมดมาให้เสร็จสรรพ โดยการเดินทาง

ทั้งหมดที่บอกมาเบื้องต้น (นอกจาก Uber) เราสามารถใช้บัตรโดยสาร Opal Card เพียงใบเดียวแตะเข้าและออกทั้งได้เหมือน

รถไฟฟ้าบ้านเราเลยค่ะ นอกจากนี้บัตร Opal Card ยังมีสิทธิ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่น ในหนึ่งวันค่าเดินทางจะไม่เกิน $15.80 และไม่

เกิน $63.20 ต่อหนึ่งสัปดาห์ แม้เราจะเดินทางมากแค่ไหนก็ตาม และในหนึ่งสัปดาห์หากเราเดินทางครบ 8 ครั้งแล้ว ครั้งต่อไป

ราคาค่าโดยสารจะลดลงครึ่งหนึ่งค่ะ อีกทั้งในวันอาทิตย์ราคาค่าโดยสารจะไม่เกิน $2.70 ทั้งวันค่ะ เรียกได้ว่า Opal Card เป็น

บัตรโดยสารอัจฉะริยะที่อำนวยความสะดวกสบายให้ชาวซิดนีย์ทุกคนจริงๆ ค่ะ

แหล่งที่มา https://transportnsw.info

จริงๆซิดนีย์ยังมีอะไรอีกเยอะเลย ไว้มาเล่าให้ฟังใน

บทความต่อๆไปค่ะ ไม่อยากพลาดก็อย่าลืมกด like

เพจ Eden Student Service ไว้นะค้า ขอบคุณค่ะ : )

10 กิจกรรม ทำได้ฟรีๆใน “ซิดนีย์”

“ซิดนีย์” เป็นเมืองที่มีสเน่ห์ เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย

จะมาเรียน มาทำงานอย่างเดียวเดี๋ยวจะไม่คุ้มค่า วันนี้ Eden Student Service

เราเลยรวมกิจกรรม / สถานที่ท่องเที่ยวในซิดนีย์ที่เราสามารถทำ /

เข้าชมได้ฟรีๆมาให้ถึง 10 ที่ จะมีที่ไหนบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ!

  1. เดินเล่น Bondi Beach หาดสุด iconic ในซิดนีย์ วิวสวย แถมมีสตรีทอาร์ตเลียบหาดด้วย

2. เสพงานศิลป์กันให้จุใจที่ Museum of Contemporary Art และ Art Gallery of New South Wales

3. ช้อปปิ้งที่ Queen Victoria Building ห้างเก่าแก่ของเมือง

4. โพสต์ท่าถ่ายรูปกับสตรีทอาร์ตมากมายในย่าน Newtown

5. Picnic ที่สวนสาธาณะกลางเมืองอย่าง Hyde Park

6. หนีความวุ่นวาย ไปนั่งอ่านหนังสือ ฟังเพลง ที่สวนสวยๆ อย่าง Paddington Reservoir Gardens

7. ถ่ายรูปกับ 2 แลนด์มาร์คประจำเมือง Opera House และ Harbour Bridge

8. เดินส่องเมนูซีฟู้ดที่ Sydney Fish Market (ถ้าอยากกินก็มีค่าใช้จ่ายนะจ๊ะ)

9. สำรวจรอบๆ Darling Harbour (มีทั้งSea Life Sydney, Wild Life Sydney, Madame Tussauds, ฯลฯ)

10. ถ่ายรูปกับอุโมงค์ต้นไม้ดอกไม้ที่ The Grounds of Alexandria

จริงๆซิดนีย์ยังมีอะไรอีกเยอะเลย ไว้มาเล่าให้ฟังใน

บทความต่อๆไปค่ะ ไม่อยากพลาดก็อย่าลืมกด like

เพจ Eden Student Service ไว้นะค้า ขอบคุณค่ะ : )

TFN ทำเองได้ง่ายนิดเดียว

น้องๆหลายคนที่เพิ่งมาถึงออสเตรเลียอาจกำลังกังวล ไหนจะเรื่องสภาพอากาศที่ไม่เหมือนประเทศไทย

ไหนจะเรื่องการย้ายเข้าที่พัก เปิดบัญชีธนาคาร ซื้อของเข้าบ้าน สำรวจเมืองและการเดินทาง

ต้องเข้าเรียนพบเจอเพื่อนใหม่ๆ หลังจากนั้นก็อยากจะหางานพิเศษเพื่อเป็นค่าขนมเล็กๆน้อยๆ

พอมาถึงตรงนี้ได้งานแล้วนายจ้างถามว่าเรามีเลข TFN หรือเปล่า แล้ว TFN มันคืออะไรกันล่ะ?

แล้วเราจะได้ TFN มาได้ยังไง วันนี้พี่ยาดาจะมาไขข้อข้องใจให้น้องๆกันค่ะ

TFN หรือ Tax File Number ก็คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีสำหรับผู้ที่ทำงานในประเทศออสเตรเลีย

อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อเราสมัครงานนายจ้างจะขอ TFN เพื่อดำเนินการยื่นเรื่องต่อ

Australian Taxation Office (ATO) เพื่อทำการหักภาษีจากรายได้ให้รัฐบาล โดยที่จะหักเป็นเปอร์เซ็นต์

จากรายได้ตามที่ ATO ได้กำหนดไว้ และทุกๆปีบัญชีภาษี (ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม)

หากเราถูกหักภาษีไปเกินกว่ากำหนดก็สามารถขอเคลมภาษีคืนได้ค่ะ

แต่ในครั้งนี้พี่ยาดาจะมาแนะนำขั้นตอนการสมัคร TFN ให้น้องๆ กันค่ะ ขั้นตอนมีดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.ato.gov.au/Individuals/Tax-file-number/Apply-for-a-TFN/
  2. คลิ๊กเลือก Foreign passport holders, permanent migrants, and temporary visitors
  3. คลิ๊ก Apply online for TFN
  4. จะมีข้อมูลรายละเอียดให้อ่านค่ะว่าใครที่สมัคร TFN ได้บ้าง คลิ๊ก Next
  5. What is your passport or travel document number? — ใส่หมายเลขพาสปอร์ต
  6. What is the country of origin of your passport or travel document? — ประเทศที่ออกพาสปอร์ตให้คือประเทศอะไร ก็พิมพ์ว่า Thailand
  7. Have you ever visited Australia before? — เคยมาที่ประเทศออสเตรเลียแล้วหรือไม่ ตอบเสร็จแล้วก็กด Next ค่ะ
  8. Title ใส่คำนำหน้าชื่อ
  9. Family name นามสกุล
  10. First given name ชื่อจริง
  11. Other given names ถ้ามีชื่อจริงๆอื่นๆก็ใส่ไปค่ะ
  12. Are you, or have you been known by any other names? — มีชื่ออื่นๆที่ใช้อีกมั้ย เช่น ชื่อก่อนแต่งงาน
  13. What is your full date of birth? ใส่วันเกิดไปค่ะ
  14. What is your gender? เพศอะไร
  15. Do you have a spouse? — มีคู่สมรสหรือไม่? ถ้าตอบ Yes กรอกข้อมูลคู่สมรสไปด้วยค่ะ/Tittle คำนำหน้าชื่อ/Family name นามสกุล/First given name ชื่อจริง/Other given names ถ้ามีชื่อจริงๆอื่นๆก็ใส่ไปค่ะ/เสร็จแล้วคลิ๊ก Next ค่ะ
  16. Have you ever applied for a TFN or Australian Business Number (ABN) before? — เคยสมัคร TFN หรือ ABN มาก่อนหรือไม่?/ถ้าตอบว่าเคยให้กรอกเลข TFN หรือ ABN ของเราลงไปด้วยค่ะ
  17. Have you ever lodged a tax return in Australia? — เคยทำเรื่องเคลมภาษีคืนในประเทศออสเตรเลียหรือไม่?
  18. Do you own property or have other business interests in Australia? — เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจในออสเตรเลียหรือไม่?
  19. Do you authorize the ATO to send your TFN to Centrelink? — ยินยอมให้ ATO ส่งข้อมูล TFN ให้ Centrelink หรือไม่/ถ้าตอบ Yes ให้ใส่หมายเลข CRN ของเราค่ะ ถ้าไม่มีก็ตอบ No/เสร็จแล้วคลิ๊ก Next ค่ะ
  20. What is your Australian postal address? — กรอกที่อยู่เราในออสเตรเลียลงไปค่ะ จะเป็นที่อยู่ที่ ATO ส่งจดหมายที่มีเลข TFN มาให้เราค่ะ
  21. What is your current home address? — กรอกเหมือนข้อ 20 ค่ะ/เสร็จแล้วคลิ๊ก Next ค่ะ
  22. Who would you like the ATO to contact if we need further information to process your TFN application? — จะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อใครได้กรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เลือกตัวเองหรือคนอื่นก็ได้ค่ะ ถ้าเลือกคนอื่นให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ เวลาที่สะดวกให้โทรสอบถาม หรือ Email ลงไปด้วย/เสร็จแล้วคลิ๊ก Next ค่ะ
  23. เสร็จแล้วก็กด Submit ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ

เราจะได้เลข TFN จาก ATO ภายใน 28 วันค่ะ แต่น้องๆบางคนหนึ่งสัปดาห์ก็ได้แล้วค่ะ หากภายใน 28 วัน

ใครยังไม่ได้รับจดหมายก็สามารถโทรไปสอบถามกับ ATO ได้ที่ 13 28 61 วันจันทร์ – ศุกร์ 8.00- 18.00 น.ค่ะ

เป็นยังไงล่ะค่ะทำเองได้ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ การเริ่มต้นชีวิตใหม่ในออสเตรเลียไม่ได้ยากเลยค่ะ

แค่น้องๆเปิดใจและกล้าลงมือทำ สำหรับวันนี้พี่ยาดาขอตัวไปก่อน คราวหน้าจะนำสาระและความรู้ดีๆ

มาฝากกันอีกแน่นอนค่ะ สวัสดีค่ะ

เครดิตข้อมูล www.ato.gov.au

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตาม

เพจ Eden Student Service นะคะ ขอบคุณค่ะ

การหางานเสริมเริ่มต้นที่ไหน

การมาเรียนต่อที่ออสเตรเลียนอกจากน้องๆจะมีค่าใช้จ่ายในการเรียนแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆในชีวิตประจำวันด้วย

พี่ยาดาจึงไม่แปลกใจที่น้องๆหลายๆคนอยากจะหางานพิเศษทำเพิ่มเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย แต่หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า

แล้วเราจะไปหางานที่ไหนยังไงดีน้า? วันนี้พี่ยาดาเลยจะมาแนะนำแหล่งในการหางานของเด็กไทยในออสเตรเลียกันค่ะ

www. natui.com.au

แหล่งรวบรวมคนไทยในออสเตรเลีย ทั้งหางาน หาบ้าน ขายสินค้าและบริการต่างๆ งานที่มาโพสก็

จะเป็นงานในร้านอาหารไทย งานทำความสะอาด งานนวด เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารของคนไทย

ในออสเตรเลียแหล่งใหญ่มากที่สุดแหล่งหนึ่งก็ว่าได้ค่ะ

www.gumtree.com.au

แต่หากใครอยากจะฝึกภาษาอังกฤษและทำงานกับชาวออสซี่จริงๆ พี่ยาดาแนะนำ Gumtree เลยค่ะ

เว็บไซต์นี้นอกจากจะขายของ หาบ้านแล้ว ยังมีการโพสหาลูกจ้างด้วย โดยส่วนใหญ่งานใน Gumtree จะเป็นงานบริการ

หรือหากเป็นงานออฟฟิศหรืองาน Professional ก็จะเป็นระดับแอดมินหรือ entry level ซึ่งพี่ยาดาคิดว่าสำหรับน้องๆ

ที่อยากจะฝึกภาษาและหาประสบการณ์ที่แตกต่างในออสเตรเลียจริงๆ การหางานใน Gumtree ก็ตอบโจทย์ของน้องๆ

ได้ดีทีเดียวค่ะ

www.seek.com.au/ www.indeed.com.au

หรือหากน้องๆคนไหนมั่นใจและอยากจะลองหางานออฟฟิศดูอย่างจริงจัง เว็บไซต์ Seek หรือ

Indeed ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ เพราะบางบริษัทก็จะรับพนักงานเป็น Part time ซึ่งตอบโจทย์

น้องๆที่ถือวีซ่านักเรียนที่สามารถทำงานได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/2 สัปดาห์ บางคนพอเห็นว่าเป็นงานออฟฟิศแล้วอาจจะ

ส่ายหน้า อย่าเพิ่งไปคิดว่าเราทำไม่ได้ เราไม่มีความสามารถนะคะ พี่ยาดาคิดว่าถ้าเราไม่ลองสมัครไปก่อนเราก็ไม่มีทางรู้

หรอกค่ะว่าเราทำได้มั้ย ถ้าเราลองสมัครดูผลลัพธ์คือได้กับไม่ได้ แต่ถ้าไม่ลองเลยผลลัพธ์มีอย่างเดียวก็คือไม่ได้ค่ะ

Facebook

อีกช่องทางหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามคือกรุ๊ปต่างๆในเฟสบุ๊คค่ะ ซึ่งแต่ละเมืองก็จะมีกรุ๊ปที่

แตกต่างกันไป วิธีง่ายที่สุดคือการลองหาในเฟสบุ๊คค่ะ เช่น พิมพ์ไปว่า Jobs in Sydney, Sydney jobs,

Jobs in Melbourne เดี๋ยวกรุ๊ปต่างๆก็จะขึ้นมาเองค่ะ

            นอกจากวิธีการสมัครงานออนไลน์แล้ว สำหรับเมืองเล็กๆ เราก็สามารถไปวอล์คอินหางานได้เหมือนกันค่ะ

เพราะร้านค้าบางร้านอาจจะมีการติดป้ายประกาศไว้หน้าร้าน แต่สำหรับเมืองใหญ่พี่ยาดาไม่แนะนำให้วอล์คอินนะคะ

เพราะกว่าจะเจอร้านที่รับสมัครพนักงานน้องๆคงเดินจนหมดแรงพอดี

            อีกช่องทางหนึ่งที่บางคนอาจคิดไม่ถึงคือการได้งานจากคนรู้จักค่ะ เวลาไปเรียนที่โรงเรียนอย่าเอาแต่ตั้งหน้า

ตั้งตาเรียนนะคะ พยายามทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เพราะบางครั้งคนเหล่านี้ก็เป็นคน

ที่แนะนำงานให้เราได้ค่ะ

            นี่แหละค่ะคือแหล่งในการหารายได้เสริมของน้องๆ ใครที่กำลังหางานอยู่ก็ขอให้โชคดีนะคะ ส่วนใครที่กำลัง

จะมาเรียนต่อที่ออสเตรเลียแล้วคิดจะหางานพิเศษก็ไปหาตามแหล่งที่พี่ยาดาแนะนำไว้ได้เลยค่ะ ขอให้น้องๆทุกคนโชคดีค่ะ

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตาม

เพจ Eden Student Service นะคะ ขอบคุณค่ะ

การเดินทางในเมลเบิร์น

ระบบขนส่งในแต่ละรัฐในออสเตรเลียนั้นจะมีความแตกต่างกันค่ะ บัตรโดยสารที่ใช้ก็จะแตกต่างกันด้วย เช่น

ในซิดนีย์เราใช้บัตร Opal ในการเดินทาง แต่สำหรับเมลเบิร์นนั้นจะใช้บัตรโดยสารที่เรียกว่า Myki ซึ่งบัตรนี้ก็จะมี

2 ประเภทคือแบบเติมเงิน และแบบ Pass หรือเหมาจ่ายรายวัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้บัตรที่แตกต่างกันแต่ก็ใช้

ระบบแตะเข้าและแตะออกเหมือนๆ กัน เมื่อเราแตะบัตรเข้าไปแล้ว ระยะเวลาเดินทางให้นับไปไม่เกิน 2 ชั่วโมง

จะเสียค่าเดินทาง $4.10 แต่หากเดินทางเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ค่าเดินทางจะคิดเป็น $8.20 หรือราคาสำหรับเหมา 1 วัน

ไม่ว่าน้องๆ จะโดยสารกี่รอบก็ตามก็จะจ่ายไม่เกิน $8.20 ต่อวันค่ะ ที่สำคัญคืออย่าลืมแตะบัตรทุกครั้งที่เข้าและออกนะคะ

ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนตรวจบัตรและปรับได้เช่นกัน

            ก่อนอื่นเราจะต้องมาเข้าใจแผนที่เมืองเมลเบิร์นกันเสียก่อน เมลเบิรน์นั้นแบ่งผังเมืองเป็นโซนที่แตกต่างกันค่ะ

  • โซน 1 และ CBD (Central Business District)

คือเขตเศรษฐกิจหรือใจกลางเมืองเมลเบิรน์นั่นเองค่ะ โซนใจกลางเมืองจะแบ่งช่องออกเป็นสี่เหลี่ยมเท่าๆกันอย่างเป็นระเบียบ

น้องๆบางคนอาจจะหลงได้ในช่วงแรกเนื่องจากทุกบล็อคหน้าตาเหมือนๆกันไปหมด แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ใช้เวลาไม่นาน

น้องๆก็จะชินและคุ้นเคยไปเองค่ะ ในโซน 1 และ CBD นี้น้องๆสามารถเดินทางด้วย Free tram zone เลยค่ะ แต่ก็จะมีบางส่วน

ที่ Free tram ไม่ครอบคลุมก็สามารถเดินทางด้วยรถไฟได้ค่ะ

  • โซน 2

เป็นส่วนที่ไกลออกจาก CBD สามารถเดินทางได้ด้วยรถไฟได้เลยค่ะ เพราะรถไฟครอบคลุมโซน 2 ของเมลเบิร์นเช่นกันค่ะ

ทำให้การเดินทางในเมลเบิร์นนั้นสะดวกสบายและรวดเร็วด้วยค่ะ สำหรับรถเมล์นั้นก็มีเช่นกันแต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากน้องๆ

นิยมอยู่ในโซน 1, โซน 2 และ CBD กันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเส้นทางของ Free Tram และรถไฟก็ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดจนไม่จำเป็น

ต้องขึ้นรถเมล์แล้วค่ะ

            น้องๆที่เพิ่งมาถึงเมลเบิร์นใหม่ๆสามารถหาซื้อบัตร Myki ได้ที่ 7-11 ทั่วไป และเติมเงินในบัตรออนไลน์ได้เลยค่ะ

ที่สำคัญคืออย่าลืมลงทะเบียนบัตรออนไลน์ เพราะหากทำบัตรหายก็ยังสามารถเคลมเงินในบัตรคืนได้ด้วยนะคะ

            สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งมาถึงเมลเบิร์นใหม่ๆ อาจจะยังสับสนกับระบบการเดินทางของที่นี่ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ

ทางทีมงานพี่ๆ Eden เป็นที่ปรึกษาให้ตั้งแต่การเลือกสถานที่เรียนและเมืองที่ตรงตามความต้องการของน้องๆทุกคน

พี่ยาดาเชื่อค่ะว่าเป็นธรรมดาที่น้องๆจะกังวลในการเดินทางมาเรียนที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรก แต่เมื่อเราอยู่ไปเรื่อยๆ

เราก็จะจดจำเส้นทางและปรับตัวได้เองค่ะ ที่สำคัญคือพี่ๆทีมงาน Eden พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้น้องๆทุกคนสบายใจหายห่วงได้

แน่นอนค่ะ

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตาม

เพจ Eden Student Service นะคะ ขอบคุณค่ะ

Resume ดีๆ เริ่มต้นอย่างไร

น้องๆที่มาเรียนต่อที่ออสเตรเลีย หลายๆคนก็คงอยากจะหางานพิเศษทำเพิ่มเพื่อเป็นค่าขนมเล็กๆน้อยๆ (แต่บางคนก็หาเงินพิเศษได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียวค่ะ) ซึ่งรูปแบบของเรซูเม่ที่นี่กับที่ประเทศไทยก็จะมีความแตกต่างกันพอสมควร โดยทั่วไปหากสมัครงานบริการ เช่น พนักงานร้านอาหาร งานทำความสะอาด งานพนักงานต้อนรับ เรซูเม่ควรมีความยาว 1-2 แผ่นค่ะ แต่ถ้าสมัครงานออฟฟิศหรืองาน Professional ก็แล้วแต่ประสบการณ์ทำงานของเราค่ะ โดยทั่วไปจะประมาณ 2-5 แผ่น (ซึ่งถ้าเป็นประเทศไทยเรซูเม่พนักงานออฟฟิศมากสุดก็แค่ 2 แผ่นเท่านั้นเอง) โดยรายละเอียดของเรซูเม่จะแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ค่ะ

  1. Headline

ส่วนนี้คือชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ (บอกแค่ Suburb ที่เราอยู่ก็พอค่ะ) อีเมล์ และ Linkedin ของเราค่ะ ที่ออสเตรเลียคนส่วนมากใช้ Linkedin ในการสมัครงานเยอะมากค่ะ ใครที่ยังไม่เคยสมัครก็ควรที่จะไปสมัครเอาไว้นะคะ เผื่อว่านายจ้างจะกดเข้าไปดูโปร์ไฟล์ของเราใน Linkedin ค่ะ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ รูปถ่ายไม่ต้องใส่เลยค่ะ

2. Career Overview

ส่วนนี้คือสรุปใจความสั้นๆ ว่าเราเคยทำอะไรมาบ้าง ควรมีความยาวประมาณ 5 บรรทัด ส่วนนี้นายจ้างจะกวาดตาอ่านเร็วๆ เลยค่ะว่าเราเคยทำอะไรมาและเกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอย่างไร ส่วนนี้คือใจความสำคัญจริงๆ นะคะ เอางานที่เราเคยทำที่เกี่ยวข้องกับงานที่เราสมัครค่ะ ไม่ต้องใส่ประสบการณ์ทุกอย่างที่เคยทำลงไป

3. Core Competencies/ Skills

คือทักษะที่เรามีและเกี่ยวข้องกับงานที่สมัครค่ะ ตรงนี้อาจจะใส่เป็น bullet ลงมาก็ได้ค่ะ เช่น Customer Service, Excellent in communication skills, time management skill เป็นต้น ตรงนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกทักษะที่เรามีนะคะ เอาแค่ที่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครพอ เช่น ถ้าน้องสมัครเป็นพนักงานทำความสะอาด ก็ไม่ควรใส่ Intermedia in Microsoft Office นะคะ

4. Work History

คืองานที่เราเคยทำมาค่ะ หัวข้อตรงนี้ก็ใส่ Responsibilities (หน้าที่) และสิ่งสำคัญคือหลังจากหน้าที่ก็ควรใส่ Achievements (ความสำเร็จในหน้าที่) เช่น น้องๆ อาจจะใส่ตรงหน้าที่ว่าเคยทำงานเสริฟ์ที่คาเฟ่ มีหน้าที่ทำกาแฟ ต้อนรับลูกค้า เช็คสต็อก ทำความสะอาดคาเฟ่ และความสำเร็จคือได้รับการชมเชยให้เป็นพนักงานดีเด่นประจำเดือนก็ได้ค่ะ ตรงนี้นายจ้างจะได้เห็นว่าเราเคยทำประโยชน์อะไรให้กับที่ทำงานเก่าบ้าง

5. Education

ใส่แค่การศึกษาขั้นสูงสุดก็พอค่ะ ไม่จำเป็นต้องไล่มาตั้งแต่สมัยประถม นอกจากเขียนว่าจบคณะอะไร และมหาวิทยาลัยอะไรแล้ว หากเคยได้รับเกียรตินิยมก็ใส่ไปด้วยก็ได้ค่ะ

6. References

คือบุคคลที่นายจ้างสามารถโทรไปสอบถามเรื่องประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาของเราได้ค่ะ เพราะฉะนั้นก็ควรจะเป็นนายจ้างเก่า หรือเมเนเจอร์ที่เคยทำงานร่วมกัน เพื่อนสนิท ญาติ ครอบครัวนี่ไม่ควรใส่เลยค่ะ บุคคลอ้างอิงควรมี 2-3 คนค่ะ

นอกจากเรซุเม่แล้วก็ควรจะมี Cover Letter แนบไปด้วย ใจความสำคัญของ Cover Letter คือเขียนว่าเรามีทักษะอะไรที่จะไปช่วยพัฒนาหรือทำให้องค์กรของเขาดีขึ้นได้บ้าง โดยเคล็ดลับก็คือให้ดูใน Job descriptions ว่านายจ้างต้องการคนแบบไหน และเราก็เขียนใน Cover Letter ของเราให้สอดคล้องกับทักษะ/คนแบบที่นายจ้างต้องการค่ะ ความยาวของ Cover Letter ควรมี 1 หน้ากระดาษพอค่ะ

สิ่งสำคัญก็คือการทำให้เรซูเม่และ Cover Letter ของเราสอดคล้องกับคนแบบที่นายจ้างต้องการ เพราะฉะนั้นเรซูเม่และ Cover Letter ของน้องๆ ก็ควรจะแตกต่างกันไปตามประเภทงานที่สมัครนะคะ อย่าหว่านเรซุเม่และ Cover Letter ใบเดียวสมัครงานทุกประเภทค่ะ

เป็นยังไงบ้างล่ะคะ…หากจะบอกว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย พี่ยาดาเชื่อว่าถ้าน้องๆ มีความพยายามแล้วล่ะก็ เรื่องแค่นี้ไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ แน่นอนค่ะ

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตาม

เพจ Eden Student Service นะคะ ขอบคุณค่ะ

เรียนมหา’ลัยยังไงให้มี Passion ตั้งแต่ต้นเทอมยันท้ายเทอม!

หมด Passion หรือหมดแรงจูงใจในการเรียน อาจเกิดได้กับเด็กมหา’ลัยทุกคนด้วยหน้าที่รับผิดชอบ

ที่แทบจะแยกร่างไม่ทัน ทำให้ช่วงต้นเทอมหลายคนฮึดว่าฉันต้องสู้ไหว แต่พอนาน ๆ ไปกลายเป็นตามมีตามเกิดแล้วซะงั้น

วันนี้เราเลยมีทริคดีๆ 10 ข้อทำได้แล้วมีแรงจูงใจไปต่อแน่นอน!

  1. รู้จักวางแผน

ข้อนี้ คือ การที่เราจะต้องวางแผนจัดลำดับความสำคัญตามแบบฉบับของตัวเอง เช่น ฉันจะทบทวนบทเรียนช่วงดึก

หรือ จะเริ่มหาข้อมูลงานชิ้นนี้ให้เสร็จวันนี้ก่อนลงมือในวันพรุ่งนี้ ซึ่งการจัดตารางในทุกเรื่องจะช่วยทำให้รู้ว่าอะไรควรสนใจ

และอะไรควรปล่อยทิ้งไปก่อนเรียกว่าโฟกัสให้ถูกจุดที่ควรทำจริงๆ

2. เพื่อนข้างๆสร้างแรงจูงใจได้

หากเริ่มมีความเครียด ความวิตกกังวล การได้แชร์ปัญหาให้เพื่อนร่วมคลาสได้ฟังปัญหานั้นจะเบาลงไปครึ่งนึง

โดยเฉพาะล้อมรอบด้วยคนที่พอจะเข้าใจในเรื่องเดียวกัน ทั้งนี้ยังเป็นแรงจูงใจให้กันได้ช่วยกันแก้ปัญหา

แต่อย่าลืมอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนขยันตั้งใจล่ะ เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลต่อคนเราไม่น้อยทีเดียว

3. ออกกำลังกายบ้าง

เวลาที่เริ่มล้า คิดอะไรไม่ออก ลองพาตัวเองไปออกกำลังกาย เพราะวิธีนี้มีผลทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้สมองสดใส

คิดอะไรไหลลื่น พร้อมลุยกับบทเรียนต่อด้วยความกระปรี้กระเปร่า

4. ทานแต่อะไรดีๆ

ร่างกายกับสมองมีผลต่อกันอย่างขาดไม่ได้ การรับอาหารที่ดีเข้าสู่ร่างกายก็เป็นการบำรุงสมองไปอีกนัยหนึ่ง

เพราะถ้าอยากสุขภาพดีก็ออกกำลังกาย แต่ถ้าอยากสมองดี ก็ต้องมีบำรุงกันบ้างเป็นธรรมดา

5. อย่าอยู่แต่กับบทเรียน

ในช่วงเวลาคับขันอย่างช่วงสอบอาจทำให้เราอดเครียดไม่ได้ แม้แต่ตอนกินข้าว ตอนนอน แต่นั่นทำให้การจดจำหรือรับสิ่งต่างๆ

อาจเสื่อมลง หาอะไรทำให้ผ่อนคลายในช่วงเครียดๆ แล้วค่อยกลับมาอ่านหนังสืออีกครั้งจะได้ผลดีกว่าการจดจ่ออย่างเอาเป็น

เอาตายเลยจะดีกว่านะ

6. เปลี่ยนที่อ่านหนังสือกัน

ข้อนี้หลายคนคงทำเป็นประจำ การออกจากห้องหอมาอ่านหนังสือตามคาเฟ่สีอุ่นๆ หรือที่ที่ต่างกันบ้างนั้น

จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้นั้นดีขึ้น ทั้งยังไม่กดดันมากไป แถมยังเห็นคนอื่นๆที่นั่งอ่านเป็นเพื่อนกัน

สร้างแรงจูงใจได้ดีทีเดียว

7. กฏพัก 15 นาทีมีผล

พักสายตา พักสมอง 15 นาที หลังจากจดจ่อกับหนังสือและความเคร่งเครียดมาเป็นเวลานาน ๆ

จะช่วยทำให้สมองได้พักผ่อนและกลับมามีพลังในการจดจำมากยิ่งขึ้น ทั้งยังล้าน้อยลงด้วยการพักเบรค 15 นาที

8. ฉลองความสำเร็จ และไม่จมกับความล้มเหลว

เมื่อไหร่ก็ตามที่ทำภารกิจที่ยากและสำคัญที่วางแผนไว้ในการเรียนสำเร็จ อย่าลืมให้รางวัลตัวเองอย่างการไปปาร์ตี้

หรือใช้เวลากับงานอดิเรกแต่. . ถ้ามันผิดพลาดควรจะเดินต่อให้ไว้และใช้สิ่งที่พลาดเป็นบทเรียนบทหนึ่งที่ดี

เพื่อเป็นกำลังใจตัวเองในการเรียนต่อ

9. Life Balance

การทำอะไรที่หักโหมไปอาจทำให้หมดกำลังใจไปได้ง่ายๆ มีเป้าหมายในการเรียนนั้นดีแต่อย่าลืมใช้ชีวิตอย่างสมดุล

กับส่วนอื่นๆ นอนพักให้เพียง พบเจอคนอื่นๆ และมีเวลาให้กับสิ่งที่ตัวเองชอบไปด้วยพร้อมๆกัน

10. เป้าหมายต้องชัดเจน

ในการเรียนหรือทำอะไรก็ตามหากเป้าหมายไม่ชัด การจะเดินทางให้ไปถึงคงจะสะเปะสะปะไม่น้อย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง

กำหนดเป้าหมายให้นิ่งในระยะสั้นและระยะยาว แล้ววางแผนอย่างรอบคอบเพื่อไปถึงจุดนั้นแบบมีบาลานซ์แล้วลุย!

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตาม

เพจ Eden Student Service นะคะ ขอบคุณค่ะ

วีซ่านักเรียน ทำงานได้ไหม

 ในการทำงาน ปกติวีซ่านักเรียนจะจำกัดชั่วโมงการทำงานสำหรับผู้ถือวีซ่าให้สามารถทำงานถูกต้องมากฏหมายได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่การทำงานของนักเรียนนั้นก็จะทำงานกันหลังเลิกเรียน และวันเวลาที่ว่างจากการเรียน รายได้ถ้าเป็นร้านอาหารไทยจะเหมาเป็นวัน ส่วนมากอยู่ที่ขั้นต่ำ $55-75 /วัน แต่ถ้าทำกับคนต่างชาติจะคิดเป็นชั่วโมงอยู่ที่ $10-20 /ชั่วโมง

Hospitality

เป็นงานที่นิยมทำกันมากประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายถึงงานบริการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1.Restaurants and Cafes : ร้านอาหารและร้านกาแฟ

ร้านอาหารทั่วไป จะแบ่งตำแหน่งออกเป็น สองประเภทหลักๆ คือ Kitchen Staff กับ  Front Staff

ในส่วนของ Kitchen Staff จะมีตำแหน่งแบ่งออกเป็นดังนี้

  • Dish Washer : หมายถึงตำแหน่งล้างจาน ที่จะต้องล้างให้ทัน เร็ว และสะอาด เป็นตำแหน่งที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรที่ซับซ้อนมาก ล้างให้ทัน เตรียมของ หรืออาจจะหุงข้าวให้ทันตามที่ได้รับมอบหมาย และมักจะต้องรับผิดชอบการทิ้งขยะด้วย รายได้ประมาณ 17 AUD ต่อชั่วโมง
  • Kitchen Hand : เป็นตำแหน่งผู้ช่วยในครัว โดยปกติทำหน้าที่หั่นผัก หั่นเนื้อ เตรียมของให้กับ Chef
  • Entrie Maker : ทำหน้าที่ทำอาหารในส่วนของก่อนอาหารหลัก ซึ่งในร้านอาหารไทยจะมีเมนู Entrie ที่ฮิตๆได้แก่ ปอเปี๊ยะ (Spring rolls) , ทอดมัน (Fish cake) , สะเต๊ะ (Satay) และจัดอาหารให้ทันกับความต้องการของลูกค้า
  • Curry Hand : ทำหน้าที่ทำอาหารประเภทแกง ต่างๆ เช่น แกงเขียวหวาน ต้มยำ ต้มแซ่บ แกงแดง แกงเหลืองตามสูตรของแต่ละร้าน
  • Chef : อาหารไทยในต่างแดนที่ฮิตๆกันคือ อาหารจำพวก Stir-fry ได้แก่ ผัดต่างๆ เช่น ผัดไท ผัดซีอิ๊ว ผัดกะเพรา เป็นต้น เชฟหรือที่บางที่ก็มีตำแหน่งมือผัด ไว้สำหรับทำอาหารจานฮิตพวกนี้ เชฟต้องรับผิดชอบเยอะกว่าคนอื่นพอสมควร ดังนั้นรายได้ก็จะสูงไปด้วย

ในส่วนของ Front staff

  • Wait staff : หรือพนักงานเสริฟ โดยหลักๆแล้วจะทำหน้าที่ต้อนรับลูกค้า รับออเดอร์ คอยบริการลูกค้า ซึ่งจะต้องบริการมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับลักษณะของร้านว่าเป็นร้านแบบทำนองอาหารตามสั่ง หรือว่าเป็นร้าน fine-dining Wait staff ควรจะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษที่โอเค มีบุคลิกที่ดูสะอาดสะอ้าน รู้จักประเภทของอาหาร และส่วนประกอบของแต่ละรายการ เป็นตำแหน่งที่ต้องติดต่อพูดคุยกับลูกค้า และต้องแก้ปัญหาเยอะพอสมควร รายได้จะอยู่ประมาณ 10-15 AUD ต่อชั่วโมง และอาจมีรานได้เพิ่มจากทิปด้วย
  • Cashier & Reception: แคชเชียร์ก็จะทำหน้าที่คิดเงินเป็นหลัก บางร้านที่ไม่วุ่นมามากก็จะให้ Cashier รับโทรศัพท์ไปด้วย งานรับโทรศัพท์เป็นงานที่อาศัยทักษะการฟังค่อนข้างมาก เพราะว่านอกจากต้องฟังรายละเอียดที่ลูกค้าต้องงการแล้ว บางร้านที่มีบริการ Home delivery service ก็จะต้องจดที่อยู่ จดรายการอาหาร ชื่อให้ถูกต้องทั้งหมดด้วย
  • Runner : ในร้านที่ยุ่งจัดๆ Runner จะเป็นคนรันอาหารอย่างเดียว รับอาหารจากในครัวไปลงโต๊ะนั้นโต๊ะนี้ runner เองก็ต้องอาศัยความจำที่ดี ไม่ลงอาหารให้ผิดโต๊ะ

2. Bars & Gaming งานในผับบาร์ คาสิโน

เป็นงานที่หลายๆคนอยากทำ เพราะว่าได้ค่าตอบแทนค่อนข้างสูง โดนงานทั้งสองประเภทก่อนที่จะไปทำได้เราจะต้องมี License คือ RSA สำหรับ Bars หรือร้านอาหารที่เสริฟแอลกอฮอล์ และ RCG สำหรับทำงานเกี่ยวกับตู้พนันหรือ Gaming Machine

3. Hotels โรงแรม

สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ทำงานโรงแรมมาแล้วโดยเฉพาะโรงแรมที่มีเครืออยู่ในต่างประเทศจะค่อนข้างได้เปรียบสำหรับการหางานประเภทนี้ งานมีหลากหลายฟังค์ชันตามที่โรงแรมมีบริการเช่น front , เด็กยกกระเป๋า , housekeeping เป็นต้น

Cleaning

งานนี้ก็คืองานทำความสะอาดในรูปแบบต่างๆ งานคลีนจะมีหลายแบบตั้งแต่ คลีนออฟฟิศ คลีนตามบ้าน คลีนร้านอาหาร ซึ่งงานคลีนแต่ละอย่างก็ใช้ทักษะที่แตกต่างและมีลักษณะงานต่างๆ กันไป เช่น งานคลีนออฟฟิศ โดยทั่วไปเราก็จะได้รับมอบหมายให้ทำการเก็บขยะตามโต๊ะ ปัดฝุ่น และเช็ดโต๊ะเล็กๆน้อยๆ ตลอดจนดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น ที่สำคัญสำหรับงานนี้คือต้องทำให้เร็วและสะอาด โดยมีรายได้เฉลี่ยที่ 20 AUD ต่อชั่วโมง

Clerical

งานออฟฟิศ โดยงานประเภทที่ฮิตๆกันได้แก่ data entry หรืองานคีย์ มีค่าตอบแทนชม.ละประมาณ 18 AUD งานอีกประเภทที่น่าสนใจคือ Reception แต่งานประเภทนี้จะต้องมีทักษะการพูดและการฟังค่อนข้างดีมากเพราะต้องติดต่อกับคนเยอะทางโทรศัพท์

Fast Food

งานที่ทำในร้าน Fast food ในที่นี้หมายรวมถึงร้าน Fast food แบบ Mcdonald / KFC และร้านอาหาร take away ต่างๆ ไม่ว่าจะขายข้าว / ขนม / ice cream ทักษะที่สำคัญสำหรับงานประเภทนี้คือ เราต้องฟังลูกค้าให้รู้เรื่อง และจัดทำตามความต้องการลูกค้าให้ถูกต้อง

Hair & Beauty

งานร้านทำผม สปา ทำเล็บ นวด และงานด้านความสวยความงามต่างๆ

Retail

งานในร้านขายปลีกทั่วไป มีประเภทของงานหลากหลายตั้งแต่ งานร้านขายของที่ระลึก งานร้านสะดวกซื้อ งานร้านขายของชำ งานร้านเสื้อผ้า ร้านเครื่องประดับ งานขายของในห้างสรรพสินค้า งานร้านขายวิตามิน และ Supermarket ต้องเป็นคนที่พูดคล่องพอสมควร พูดจาชวนลูกค้าคุยเก่ง งานประเภทนี้เป็นงานที่หลายๆคนอยากทำ เพราะค่อนข้างสบาย ได้ฝึกภาษาอีกด้วย