“ซิดนีย์” กับ “เมลเบิร์น” ต่างกันยังไง? ไปเรียนที่ไหนดีกว่า?

ใครที่วางแผนมาเรียนต่อที่ออสเตรเลีย แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะมาเมืองไหนดี เรารวบรวมความแตกต่างของเมือง “ซิดนีย์” และ “เมลเบิร์น”มาให้ค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ ไปดูกันเล้ยยยยย…

  1. สภาพอากาศ- ซิดนีย์: อากาศอุ่นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียสหน้าหนาว อุณหภูมิไม่ติดลบ- เมลเบิร์น: เมืองนี้มี 4 ฤดูในวันเดียวค่ะ แดด ลมฝน หนาว อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำกว่าซิดนีย์

2. การเดินทาง- ซิดนีย์: ขนส่งสาธารณะครอบคลุม มีทั้งรถไฟ รถบัสรถราง (tram) และ เรือเฟอร์รี่ โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวเรียกว่า Opal Card หมดก็เติมเงินเอาได้เลยค่ะ- เมลเบิร์น: พระเอกของที่นี่คือรถราง กลางเมืองมี Free tram zone ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่ะMyki Card เป็นบัตรโดยสารแบบเติมเงิน ใช้ได้กับขนส่งทุกประเภทจ้า

3. ค่าครองชีพค่าที่พักกับค่าเดินทาง ในซิดนีย์จะสูงกว่าเมลเบิร์นแต่พอเฉลี่ยกับค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว ค่าครองชีพของ 2 เมืองนี้ไม่ต่างกันมากค่ะ ถ้าใครอยาก ดูตารางเปรียบเทียบค่าครองชีพแบบละเอียดๆ ก็เข้าไปดูได้ที่ลิงก์นี้นะ

https://www.budgetdirect.com.au/interactives/costofliving/compare/melbourne-vs-sydney/

3. วัฒนธรรม / ไลฟ์สไตล์- ซิดนีย์: มีสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับคนทุกกลุ่มทุกวัย แต่ถ้าใครชอบทะเลกับกิจกรรม outdoor จะรักเมืองนี้มาก เพราะทะเลเยอะ คนชอบไปอาบแดดปิกนิก เดิน/วิ่ง เลียบมหาสมุทรกัน- เมลเบิร์น: ใครชอบตึกเก่าๆ ได้ฟีลประวัติศาสตร์ๆต้องเมลเบิร์นเลย กับคนที่นี่ชอบเสพงานศิลปะ งานดนตรีชอบไปมิวเซี่ยม เข้าบาร์ เข้าคาเฟ่!

ไม่อยากพลาดสาระดีๆแบบนี้ อย่าลืมกด like และติดตามเพจ เรียนต่อออสเตรเลีย by Eden Student Service นะคะ 🙂

ใครสนใจเป็นพี่เลี้ยงเด็กมารู้จัก Demi Pair Program กันเถอะ

หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูหรือไม่รู้จักโครงการ Demi Pair Program วันนี้พี่ยาดาเลยอยากจะมาแนะนำโครงการดีๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ ที่อยากเป็นพี่เลี้ยงเด็ก อยากฝึกภาษา อยากมีรายได้เสริม มารู้จักกับโครงการ Demi Pair Program กัน

Demi Pair Program คืออะไร?

Demi Paire Program เป็นโครงการที่โรงเรียน International House Bondi จะจัดหาครอบครัว Host Family ที่ต้องการพี่เลี้ยงเด็กให้กับน้องๆ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยที่น้องๆ จะต้องลงเรียนคอร์สภาษาอังกฤษกับ International House Bondi ไม่ว่าจะเป็นคอร์ส General English, Speaking and Pronunciation, Cambridge (FCE, CAE, CPE), IELTS Preparation หรือคอร์สเรียนวิชาชีพของโรงเรียน เช่น Business, Project Management หรือ Social Media Marketing โดยนักเรียนสามารถเลือกเรียนในเวลาเช้า (8.00 – 12.15 น.) หรือเวลาเรียนช่วงเย็น (17.00-21.15 น.) น้องๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องเข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลาขั้นต่ำ 12 สัปดาห์ โดยจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

· อายุขั้นต่ำ 18 ปี

· ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ Intermediate level (จะมีการวัดผลก่อนเข้าร่วมโครงการ)

· มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก, childcare educator, ครู, พยาบาลเด็ก, ผู้ช่วยครู, คนทำงานใน holiday camp, โค้ชนักกีฬาเด็ก, ครูสอนพิเศษเด็ก เป็นต้น 

· บุคคลอ้างอิง

· Police check จากประเทศไทย

· Working with Children Check (WWCC) ที่ประเทศออสเตรเลีย

· ผลตรวจสุขภาพ

· First Aid Training (หากไม่มีสามารถสมัครเรียนจบในวันเดียวราคาเพียง AU$85)

มื่อน้องๆ แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ ทางโรงเรียนจะประสานงานหาครอบครัว Host Family 

ที่เหมาะสมให้กับน้องๆ โดยน้องๆ จะต้องทำงานให้กับครอบครัว Host Family 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยที่น้องๆ จะได้ที่พัก อาหารสามมื้อครอบคลุมทุกวัน Wifi รวมถึงห้องพักส่วนตัวอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่น้องๆ ได้รับก็เรียกได้ว่าคุ้มมากเพราะค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพในซิดนีย์นั้นถือว่าสูงมากทีเดียว การที่น้องๆ สามารถประหยัดค่าที่พัก ค่ากินได้ ก็ช่วยเซฟเงินในประเป๋าไปได้มากเลยทีเดียว

ไม่ใช่แต่เฉพาะน้องๆ ที่เป็นวีซ่านักเรียนเท่านั้น น้องๆ ที่เป็น Work and Holiday Visa ก็สามารถเข้าร่วมโครงการดีๆ แบบนี้ได้เช่นเดียวกัน เงื่อนไขเบื้องต้นหากน้องๆ เข้าร่วม น้องๆจะต้องลงเรียนเพิ่มกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ Demi Pair เท่านั้นค่ะ

โครงการนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้องๆ ที่อยากศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม รวมถึงอยากเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวออสซี่แท้ๆ Demi Pair Program ถือว่าสามารถตอบโจทย์น้องๆ ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

สำหรับใครที่สนใจโครงการนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมมาที่ Eden ได้เลยนะคะ พี่ยาดาและทีมงานทุกคนพร้อมที่จะให้ข้อมูลกับน้องๆ ทุกคนเสมอ

7 ไอเท็มสำคัญที่ควรนำมาออสเตรเลีย

หลังจากที่น้องๆ ได้วีซ่ากันเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงการเตรียมจัดกระเป๋าเดินทาง วันนี้พี่ยาดาจะมาแนะนำไอเท็มสำคัญที่ควรนำมาออสเตรเลียด้วย เพื่อให้การใช้ชีวิตอยู่ออสเตรเลียของน้องๆ เป็นไปด้วยความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

1. ยารักษาโรค

แม้น้องๆ จะมีประกันสุขภาพแล้วก็ตาม แต่การมียาพื้นฐานพกติดตัวไว้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะการต้องต่อสู้กับสภาพอากาศที่ค่อนข้างจะแปรปรวนของออสเตรเลียในหนึ่งวันที่อุณหภูมิสามารถเหวี่ยงไปแตะ 20 องศาในตอนกลางวันและ 10 องศาในตอนกลางคืน (โดยเฉพาะเมือง

เมลเบริน์และซิดนีย์) น้องๆ ที่เพิ่งมาถึงร่างกายอาจจะยังปรับตัวไม่ทันก็สามารถป่วยไข้กันได้ง่ายๆ การพกยาสามัญติดตัวมาจึงถือเป็นความสะดวกสบายอย่างหนึ่ง แต่น้องๆ ควรนำยาพื้นฐานทั่วไปมาเท่านั้นนะคะ สำหรับยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ไม่สามารถนำเข้าออสเตรเลียได้ค่ะ 

2. เสื้อ/กางเกง/รองเท้าผ้าใบ สีดำ

แม้ว่าน้องๆ หลายคนจะมาเพื่อศึกษาหาความรู้ที่ออสเตรเลีย แต่การหารายได้เสริมเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างเรียนอยู่ที่ออสเตรเลียก็เป็นสิ่งน้องๆ หลายคนทำ (แต่ก็อย่า

ลืมนะคะว่าวีซ่านักเรียนสามารถทำงานได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/2 สัปดาห์) การทำงานบริการในออสเตรเลีย เช่น ร้านอาหารหรือคาเฟ่ ยูนิฟอร์มก็คือเสื้อสีดำ กางเกงสีดำ และรองเท้าผ้าใบสีดำ เพราะฉะนั้นหากใครคิดจะหาค่าขนมเพิ่มเติมอย่าลืมเตรียมสิ่งเหล่านี้มาด้วยนะคะ

3. เครื่องเขียนและสมุดโน้ต

แม้เราจะสามารถหาซื้อเครื่องเขียนและสมุดโน้ตได้ตามร้าน Officeworks ได้ทั่วไป แต่หากถามถึงความหลากหลายของเครื่องเขียนต่างๆ แล้วล่ะก็ ที่เมืองไทยเรามีแบบให้เลือกเยอะกว่าที่ออสเตรเลียแน่นอนค่ะ ยิ่งน้องๆ ที่ชอบใช้ปากกาหลายๆ สีเวลาอ่านหนังสือหรือจดเล็คเชอร์ พี่ยาดาแนะนำให้ซื้อมาจากที่เมืองไทยเลยจะดีกว่า เพราะที่นี่นอกจากจะมีแบบให้เลือกน้อยกว่าแล้วราคาก็แพงกว่าด้วยค่ะ

4. หัวแปลงปลั๊กไฟแบบ 3 หัวและปลั๊กพ่วง

ระบบไฟฟ้าที่ออสเตรเลียกับที่ไทยนั้นใช้ได้เหมือนกัน ต่างกันที่ปลั๊กไฟที่นี่เป็นแบบ AC 3 หัว ดังนั้นน้องๆ ควรพกหัวแปลง 3 หัวมาเผื่อสัก 2 อัน และปลั๊กพวงสัก 1 อัน เผื่อเวลาต้องชาร์ตไฟหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น มือถือ Power Bank ไดร์เป่าผม แบตเตอรี่กล้องถ่ายรูป เป็นต้น

5. อาหารไทย

ออสเตรเลียอาจจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีร้านอาหารไทยตั้งเรียงรายเป็นดอกเห็ด แต่ราคาอาหารก็แพงตามค่าครองชีพด้วยนะคะอย่าลืม สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งมาถึงอาจจะยังไม่ชินกับการเดินทางในออสเตรเลียหรือชีวิตยังไม่ลงตัว ก็สามารถเตรียมอาหารไทยและเครื่องปรุงอาหารพื้นฐานมาก่อนได้สำหรับการดำรงชีวิตในสัปดาห์แรก (แต่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์นำเข้ามาไม่ได้นะคะ) 

6. ถุงนอน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าถุงนอนจำเป็นยังไง สำหรับน้องๆ ที่เพิ่งมาถึงแล้วเพิ่งจะย้ายเข้าบ้านใหม่หรือหอพักใหม่ เราก็อาจจะยังไม่แน่ใจว่าผ้าปูที่นอนนั้นสะอาดหรือไม่ หรือแม้แต่การเดินทางไปท่องเที่ยวแล้วพักอยู่ในโฮสเทลต่างๆ เพื่อความสบายใจควรพกถุงนอนของตัวเองไปเผื่อด้วย หรือแม้กระทั่งในฤดูหนาว บ้านส่วนใหญ่ในออสเตรเลียจะไม่มีฮีตเตอร์ หากเรามีถุงนอนที่สามารถกักเก็บความร้อนและกันความหนาวเย็นได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

7. ใบขับขี่สากล

สำหรับน้องๆ ที่วางแผนอยากจะจัด Road Trip ในออสเตรเลีย การทำใบขับขี่สากลก็ทำให้แผนเดินทางเป็นไปได้ง่ายขึ้น แม้ว่าใบขับขี่ของไทยจะสามารถใช้ได้ในออสเตรเลียเช่นกัน แต่บริษัทเช่ารถบางที่จะรับเฉพาะใบขับขี่สากลเท่านั้นค่ะ ดังนั้นแนะนำว่าควรทำใบขับขี่สากลมาให้เรียบร้อยตั้งแต่ที่ไทยเลยดีกว่า วิธีการทำก็ไม่ยากเพียงแต่ไปที่ขนส่งที่ไหนก็ได้ พร้อมสำเนา Passport สำเนาใบขับขี่ชนิด 5 ปี สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว 2 รูป เสียค่าธรรมเนียม 505 บาท ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ใบขับขี่สากลมาแล้วค่ะ

เมื่อน้องๆ จัดกระเป๋าเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็คือเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมสำหรับการมาหา

ประสบการณ์ชีวิตที่ออสเตรเลียได้เลยค่ะ มีสิ่งดีๆ ให้น้องๆ ได้เรียนรู้และเติบโตรออยู่แน่นอนค่ะ

ของต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลีย

น้องๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมประเทศออสเตรเลียจึงต้องเข้มงวดในเรื่องการนำสินค้าบางอย่างเข้ามาในประเทศ เหตุผลก็เนื่องมาจากการป้องกันเชื้อโรคและวัชพืชต่างๆ ที่อาจติดมากับสิ่งที่เรานำเข้ามา แล้วสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อมของออสเตรเลียนั่นเองค่ะ รายการสิ่งของห้ามนำเข้าและสิ่งของที่ต้องสำแดงกับเจ้าหน้าที่มีดังนี้

1. อาหาร พืช และเนื้อสัตว์ รวมถึงอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ เช่น แฮม ไส้กรอก รวมถึง ไข่ ชีส นม และเนย เมล็ดข้าว เมล็ดพืช หัวพืช ฟาง ถั่ว สมุนไพร ปะการัง กล้วยไม้ ไข่ปลา ผลิตภัณฑ์จากงวงช้าง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ อาหารสัตว์ ชิ้นส่วนตัวอย่างจากสัตว์และมูลสัตว์ ใครที่คิดจะแอบนำเข้ามาให้ล้มเลิกความคิดซะนะคะเพราะมีเจ้าหน้าที่สี่ขามาดมตรวจอาหารต้องสำแดงที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอย่างเข้มงวด โดนจับได้มาไม่คุ้มแน่ๆ ค่ะ

2. ยาเสพติด ยาที่มีสเตอรอยด์ ฮอร์โมนต้านทานความชรา โกรท์ฮอร์โมน ยาที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ยาปฏิชีวนะ ยาพวกนี้ก็ห้ามนำเข้าออสเตรเลียเช่นกันค่ะ นอกจากจะมีใบอนุญาตจากแพทย์ในการนำเข้ามาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ว่าจะสามารถนำเข้าได้หรือไม่

3. เงินสดออสเตรเลีย หรือเงินต่างประเทศที่มีมูลค่าเท่ากับ 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือมากกว่า ต้องสำแดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วยค่ะ

4. ปืน ไม่ว่าจะเป็นปืนจริงหรือปืนปลอม และอาวุธต่างๆ กระบองโซ่ หนังสติ๊ก ธนู เครื่องช๊อตไฟฟ้า เสื้อกันกระสุน ไฟฉายเลเซอร์ ดิ้วเหล็ก สเปร์ยพริกไทย สนับมือ ท่อเป่าลูกดอก ห้ามนำเข้าทั้งสิ้นนะคะ 

5. แผ่นซีดี ดีวีดี หรือภาพถ่ายที่เกี่ยวกับการทารุณกรรม ลามกอนาจารเด็ก การก่ออาชญากรรมและการกระทำของผู้ก่อการร้ายห้ามนำเข้าค่ะ

6. ดิน โคลน ทราย รวมถึงสิ่งของที่มีดิน โคลน ทรายติดมาด้วย เช่น รองเท้า หรืออุปกรณ์กีฬา สามารถนำพาเชื้อโรคเข้ามาในออสเตรเลียได้ทั้งสิ้นจึงถือเป็นของต้องห้ามค่ะ

7. ไม้ต่างๆ สิ่งของที่ทำจากไม้ แม้กระทั่งเปลือกไม้ แมลง เชื้อรา 

8. สินค้าปลอดภาษี ที่ซื้อใน Duty Free สำหรับผู้ใหญ่ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 900 ดอลลาร์ออสเตรเลีย และเด็ก 450 ดอลลาร์ออสเตรเลีย แอลกอฮอล์สามารถนำเข้าได้แต่ปริมาณต้องไม่เกิน 2.25 ลิตร และบุหรี่ไม่เกิน 25 มวน หรือยาเส้นในปริมาณไม่เกิน 25 กรัม ซึ่งอนุญาตให้นำเข้าเฉพาะผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปค่ะ

9. สินค้าปลอมหรือลอกเลียนแบบต่างๆ 

เมื่อเราใกล้ถึงออสเตรเลีย แอร์โฮสเตสจะนำใบตรวจคนเข้าเมืองและใบสำแดงสินค้าต้องห้ามมาให้เรากรอก ให้น้องๆ กรอกไปตามความเป็นจริงนะคะ หากมีสินค้าที่ไม่แน่ใจว่าเป็นสินค้าต้องห้ามหรือไม่ ให้กรอกต้องสำแดงไปค่ะ เมื่อเดินทางมาออสเตรเลียแล้วหากเรากรอกว่ามีสินค้าต้องสำแดง เจ้าหน้าที่ก็จะเข้ามาตรวจค้น หากไม่มีอะไรเป็นสิ่งของต้องห้ามเจ้าหน้าที่ก็จะปล่อยเราผ่านไปค่ะถือว่าเราได้ปฏิบัติตามกฎแล้ว หรือหากมีสินค้าต้องห้ามแต่เราเลือกว่ามีสินค้าต้องสำแดงไป เจ้าหน้าที่ก็แค่ทิ้งสินค้าเหล่านั้นและเราจะไม่ถูกลงโทษค่ะ แต่หากเรามีสิ่งของต้องสำแดงแล้วไม่กรอกข้อมูลตามจริงแล้วถูกจับได้ ถือเป็นความผิดร้ายแรง อาจจะถูกจับ ถูกลงโทษทางแพ่ง หรืออาจถูกดำเนินคดีและถูกบันทึกประวัติอาชญากรรมเลยทีเดียวนะคะ

เราเดินทางไปที่ประเทศไหนก็ควรเคารพกฎหมายของประเทศนั้นด้วยนะคะ ตรวจสอบของในกระเป๋าเดินทางให้ดีว่ามีของต้องห้ามนำเข้าออสเตรเลียหรือไม่ เพื่อให้การเดินทางเข้าเมืองของน้องๆ เป็นไปอย่างราบเรียบไม่มีสะดุดจนถึงจุดหมายปลายทางค่ะ

แหล่งที่มา : Royal Thai Consulate-General, Sydney